• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

เหตุลดโทษให้กับผู้กระทำความผิดที่กระทำต่อผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทำร้าย

by บุญญดา เอียตระกูล

Title:

เหตุลดโทษให้กับผู้กระทำความผิดที่กระทำต่อผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทำร้าย

Other title(s):

Mitigation circumstance for battered person syndrome

Author(s):

บุญญดา เอียตระกูล

Advisor:

วราภรณ์ วนาพิทักษ์

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องเหตุลดโทษให้แก่ผู้กระทําความผิดต่อผู้ใช้ความรุนแรงใน ครอบครัวเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทําร้าย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษา แนวความคิดเกี่ยวกับการนําอาการกลุ่มอาการในบุคคลที่เกิดจากการถูกทําร้ายไปพิจารณาในชั้น กระบวนการยุติธรรม โดยศึกษาตั้งแต่หลักเกณฑ์การพิจารณาการพิสูจน์อาการกลุ่มอาการในบุคคลที่ เกิดจากการถูกทําร้ายของต่างประเทศเพื่อนํามาบัญญัติให้เข้ากับการปรับใช้ในกระบวนการยุติธรรม ของประเทศไทย ทั้งได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศในประเด็นความผิดที่กระทําโดย ผู้กระทําความผิดทําอยู่ในกลุ่มอาการในบุคคลที่เกิดจากการถูกทําร้ายเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมใน การปรับใช้กับสังคมไทย และเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมในการบัญญัติกฎหมายและแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติกฎหมายในเรื่องเหตุลดโทษแก่เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวที่กระทําความผิดต่อผู้ใช้ ความรุนแรงในครอบครัวภายหลังจากการทําร้ายผ่านไปแล้ว โดยการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศ สหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย ผลการศึกษาพบว่าตามกฎหมายไทยไม่สามารถนํามาปรับใช้กับกรณีการกระทําผิดเพราะ กลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทําร้ายที่ได้กระทําความผิดต่อผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวภายหลังจาก การทําร้ายผ่านไปแล้ว แม้ว่าผู้กระทําความผิดจะได้กระทําไปเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทํา ร้าย เพราะการพิสูจน์โดยพยานผู้เชี่ยวชาญในกรณีนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับให้นํามาใช้โดยตามคํา พิพากษาส่วนใหญ่ของศาลไทยเห็นว่าเป็นการบันดาลโทสะ แต่ในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียนั้นจะ อนุญาตให้มีการพิสูจน์ได้ว่าผู้กระทําความผิดได้กระทําความผิดไปเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูก ทําร้ายหรือไม่ซึ่งหากพยานผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าได้กระทําความผิดไปเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจาก การถูกทําร้ายจริง ศาลจะพิจารณาว่าได้กระทําความผิดไปเพราะเหตุป้องกัน โดยในสหรัฐอเมริกามี กฎหมายในระดับมลรัฐที่บัญญัติเพื่อคุ้มครองผู้กระทําความรุนแรงในครอบครัวเพื่อป้องกันอันตราย จากการถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะว่าไม่เป็นความผิด และที่สําคัญคือมีการให้ความ คุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดยศาลมีการออกคําสั่งต่างๆ เช่น ให้ผู้ใช้ความ รุนแรงในครอบครัวห้ามเข้าใกล้เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว หากมีการละเมิดคําสั่งศาลให้ถือว่าเป็น ภยันตรายคุกคามสามารถป้องกันตัวได้หรือให้ผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวห้ามเข้าใกล้บ้านและ สถานที่ทํางานหรือโรงเรียนของเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียให้ความสําคัญกับผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นอันดับแรก แตกต่างจาก ประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการคงสถานะความเป็นครอบครัวให้อยู่นานที่สุดโดยไม่คิดถึงสภาพ จิตใจของผู้ถูกทําร้าย จากผลการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะเห็นสมควรให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 3 ประการ ได้แก่ การเพิ่มในเรื่องของเหตุลด โทษแก่ผู้กระทําผิดที่เป็นบุคคลในกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทําร้ายที่กระทําการตอบโต้ผู้ใช้ความ รุนแรงในครอบครัว เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกําหนดโทษให้เหมาะสมกับการกระทําความผิดและ ชัดเจนในการลงโทษ ประการต่อมาคือเรื่องการสืบพยานโดยการพิสูจน์ความผิดปกติทางจิตโดยพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ให้เป็นหน้าที่ของจําเลยที่จะต้องเป็นผู้พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าจําเลยได้กระทําความผิดไปต่อ ผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพราะเป็นบุคคลในกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทําร้าย และขณะกระทํา ความผิดมีอาการที่เกิดจากการถูกทําร้ายจริง ที่สําคัญที่สุดคือการที่ศาลเข้าใจกระบวนการทางจิตของ กลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทําร้ายที่ได้กระทําความผิด และประการสุดท้ายคือ การให้ความสําคัญใน เรื่องการละเมิดคําสั่งห้ามเข้าใกล้ให้เป็นภยันตรายที่สาหัส เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวมีสิทธิที่จะ ปกป้องคุ้มครองตนเองให้พ้นจากภยันตรายที่ละเมิดต่อกฎหมายได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

ความรุนแรงในครอบครัว
ความรุนแรงในครอบครัว -- กฎหมายและระเบียบขัอบังคับ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

90 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5799
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b192135.pdf ( 640.38 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×