• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะสถิติประยุกต์
  • GSAS: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะสถิติประยุกต์
  • GSAS: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

by ณัฐิกา ชุณห์สุทธิวัฒน์

Title:

การศึกษาทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Other title(s):

The Study of the Skills to Evaluate Reliable Online Information of Youth Between 12-17 in Bangkok and Vicinities

Author(s):

ณัฐิกา ชุณห์สุทธิวัฒน์

Advisor:

นิธินันท์ ธรรมากรนนท์

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ

Degree department:

คณะสถิติประยุกต์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่ น่าเชื่อถือของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เพื่อวิเคราะห์ทักษะในการประเมินข้อมูล ออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 411 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Linear Regression) และ สหสัมพันธ์(Pearson Correlation) ผลการวิจัย พบว่า (1) เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่ผ่านการประเมินแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ ประกอบที่ใช้ในการ ประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) โดยรวม พบว่า คะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าช่วง คะแนนในเกณฑ์มาตรฐาน (2) เยาวชนผ่านการประเมินฯ เพียง 3 องค์ประกอบจากทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความทันสมัยของข้อมูล 2) ด้านความสัมพันธ์กันของข้อมูล และ 3) ด้าน บุคคล/ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 3 ด้านนี้จัดอยู่ในเกณฑ์ ดี ส่วนอีก 2 ด้าน ที่จัด อยู่ในเกณฑ์คะแนนปานกลาง คือ 4) ด้านวัตถุประสงค์ของข้อมูล และ 5) ด้านความถูกต้องของข้อมูล (3) ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำ หรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการ ประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านความทันสมัยของข้อมูล (4) ความถี่ในการใช้ อินเทอร์เน็ต ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บน อินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูล ออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้าน
ความสัมพันธ์กันของข้อมูล (5) เพศ และระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต มีผลต่อทักษะในการ ประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านบุคคล/ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ (6) ระยะเวลา ในการใช้อินเทอร์เน็ต การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการ กระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะใน การประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านความถูกต้องของข้อมูล (7) เพศ มีผลต่อ ทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านวัตถุประสงค์ของข้อมูล และ (8) การอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระท าหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและ ตกเป็นเหยื่อมีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) โดยรวม

Subject(s):

การประเมินข้อมูลออนไลน์

Keyword(s):

ความน่าเชื่อถือของเยาวชน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

222 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5802
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201146.pdf ( 5,683.43 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSAS: Theses [203]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×