• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา กองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชน ในจังหวัดสมุทรปราการ

by ณฐชน วงษ์ขำ

Title:

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา กองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชน ในจังหวัดสมุทรปราการ

Other title(s):

Factors to the Success of Village Fund Policy Implementation: Case Study of the Village Funds that Developed into Community Financial Institutions in Samutprakan Province

Author(s):

ณฐชน วงษ์ขำ

Advisor:

ณัฐฐา วินิจนัยภาค

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไป ปฏิบัติ โดยที่กรณีศึกษาคือ กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัด สมุทรปราการ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากเอกสาร การ สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไป ปฏิบัติ ดังนี้1. ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย มีลักษณะที่ส าคัญ ได้แก่ จะต้องมีเป้าหมายชัดเจน ในการดำเนินการ มีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการก าหนดมาตรฐานในการ ปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีการควบคุมตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง 2. ปัจจัยด้านการสื่อสารขององค์การ มี ลักษณะที่ส าคัญ ได้แก่ การสื่อสารแนวทางการปฏิบัติมีความชัดเจน เที่ยงตรง สม่ าเสมอ รวมไปถึงมีการ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือจากส่วนบนของนโยบาย 3. ปัจจัยด้านศักยภาพขององค์การ มีลักษณะที่ ส าคัญ ได้แก่ โครงสร้างองค์การมีความแข็งแกร่ง บุคลากรมีคุณภาพและมีจำนวนที่เพียงพอ มีทรัพยากร ที่เพียงพอ และได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากทางการเมือง มีการประสานงานกับผู้บริหารอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมไปถึงมีการประสานความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ 4. ปัจจัยด้าน คุณลักษณะของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ มีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ที่นำนโยบายไปปฏิบัติมีความเข้าใจ วัตถุประสงค์และสาระสำคัญของนโยบาย และมีทัศนคติที่ดีและมีความตั้งใจจริงต่อการดำเนินการตาม นโยบาย ยินยอมในการรับนโยบายจากส่วนกลางด้วยความเต็มใจ 5. ปัจจัยด้านการประสานความ ร่วมมือ มีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ประธานกองทุนหมู่บ้านมีภาวะผู้นำ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีส่วนร่วม มีความผูกพัน และยอมรับต่อกองทุนหมู่บ้าน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ต้องสร้างมาตรฐานโปรแกรมคอมพิวเตอร์และต้องอบรมคณะกรรมการ ต้องสร้างมาตรฐานการทวงหนี้ และสร้างความรู้ให้แก่คณะกรรมการ ต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ สทบ. คู่มือการประเมินผลการ
ดำเนินงานต้องมีตัวชี้วัดเป็นวัตถุวิสัย คณะกรรมการกองทุนจะต้องทบทวนระเบียบของกองทุนเสมอ และจะต้องมีนโยบายจัดอบรมให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่สมาชิก รวมไปถึงสร้างความเข้าใจถึง ผลเสียจากการไม่ชำระหนี้คืน นอกจากนี้ผู้วิจัยขอเสนอข้อเสนอเชิงปฏิบัติ ได้แก่ คณะกรรมการกองทุน จะต้องเป็นคนดีและคนเก่ง รัฐต้องประเมินผลการด าเนินงานของกองทุนอย่างมีมาตรฐาน โดยอาศัย หลักธรรมาภิบาล การพิจารณาปล่อยเงินกู้จะต้องยึดตามระเบียบอย่างเคร่งครัด คณะกรรมการและ สมาชิกจะต้องสื่อสารกันบ่อยครั้ง ประธานกองทุนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีธรรมาภิบาล มี ภาวะความเป็นผู้นำสูง รวมไปถึงเสียสละและอุทิศตัวเพื่อชุมชน
นโยบายกองทุนหมู่บ้านดำเนินงานมาจนถึงปี2560 กองทุนหมู่บ้านใช้งบประมาณในการ ดำเนินการที่สูง ตั้งแต่เริ่มนโยบายจนปี2557 รัฐได้อนุมัติงบประมาณไว้166,895.8041 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้อนุมัติรายจ่ายตั้งแต่ปี2557-2560 อีกจ านวน 6,416.4807 ล้านบาท ในปี2559 เกิด การพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนเพียงประมาณ 3,000 แห่ง ซึ่งมีจ านวนที่ค่อนข้างน้อย เมื่อพิจารณา จากงบประมาณที่เสียไปและจ านวนกองทุนที่เกิดขึ้นในปี2544 ซึ่งมีประมาณ 66,188 กองทุน ดังนั้น ผู้ มีอำนาจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่ากับการลงทุนในนโยบายกองทุนหมู่บ้าน เพื่อ กำหนดทิศทางว่านโยบายควรจะมีทิศทางอย่างไรต่อไปเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด

Subject(s):

กองทุนหมู่บ้าน -- นโยบายรัฐ

Keyword(s):

สถาบันการเงิน -- ชุมชน -- สมุทรปราการ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

374 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5809
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201149.pdf ( 3,587.81 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [286]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×