การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานีภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
188 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b201087
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
แวคอดีเย๊าะ มะรอแม (2017). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานีภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5831.
Title
การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานีภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน
Alternative Title(s)
Ecotourism Management Toward the Sustainable Development of Pattani through the ASEAN Cooperative Framework
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานีภายใต้
กรอบความร่วมมืออาเซียน ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี
5 แห่ง ได้แก่ มัสยิดกรือเซะ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน หาด
ตะโละกาโปร์ และเมืองโบราณยะรัง ใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษา
ความคิดเห็นของประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวร่วมกับการสัมภาษณ์แบบรายกรณี โดยการ
ผสมผสานในรูปแบบบูรณาการ
ผลการศึกษา พบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้ง 5 แห่ง มีความพร้อมและเหมาะสมใน ระดับที่สูงในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในด้านสถานที่ ลักษณะของพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ ยกเว้น สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจ ที่มีความเหมาะสมในระดับที่ปานกลาง 2) ประชาชนส่วน ใหญ่มีความเห็นว่า การจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ส่วนนักท่องเที่ยวมีความเห็นว่า จำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว เรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3) โครงการจัดอบรมด้านการท่องเที่ยว มีความสำคัญเป็น อันดับแรกที่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน และ 4) กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้รับความ เห็นชอบจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด และจะต้องมีการบูราณาการอิสลามร่วมด้วย เพื่อนำไปสู่การ ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา
ข้อเสนอแนะการจัดการท่องเที่ยว คือ ควรมีแนวทางการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ 1) รูปแบบการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) ความสัมพันธ์ของการตลาดและการประชาสัมพันธ์ 3) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง 4) รูปแบบของการพัฒนาศักยภาพ ของคนในพื้นที่ และ 5) ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่อการท่องเที่ยว
ผลการศึกษา พบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้ง 5 แห่ง มีความพร้อมและเหมาะสมใน ระดับที่สูงในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในด้านสถานที่ ลักษณะของพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ ยกเว้น สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจ ที่มีความเหมาะสมในระดับที่ปานกลาง 2) ประชาชนส่วน ใหญ่มีความเห็นว่า การจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ส่วนนักท่องเที่ยวมีความเห็นว่า จำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว เรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3) โครงการจัดอบรมด้านการท่องเที่ยว มีความสำคัญเป็น อันดับแรกที่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน และ 4) กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้รับความ เห็นชอบจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด และจะต้องมีการบูราณาการอิสลามร่วมด้วย เพื่อนำไปสู่การ ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา
ข้อเสนอแนะการจัดการท่องเที่ยว คือ ควรมีแนวทางการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ 1) รูปแบบการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) ความสัมพันธ์ของการตลาดและการประชาสัมพันธ์ 3) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง 4) รูปแบบของการพัฒนาศักยภาพ ของคนในพื้นที่ และ 5) ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่อการท่องเที่ยว