• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Evaluation of Municipal Solid Waste and Hazardous Waste Management: A Case Study of Ban Dong Sub-District Administrative Organization, Ubolratana District, Khonkaen Province

การประเมินผลการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายชุมชน: ศึกษากรณี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 

by Pennapa Khammadcha; เพ็ญนภา คำมัจฉา; Chamlong Poboon; จำลอง โพธิ์บุญ

Title:

Evaluation of Municipal Solid Waste and Hazardous Waste Management: A Case Study of Ban Dong Sub-District Administrative Organization, Ubolratana District, Khonkaen Province
การประเมินผลการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายชุมชน: ศึกษากรณี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 

Advisor:

Chamlong Poboon
จำลอง โพธิ์บุญ

Issued date:

7/1/2022

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

The purposes of this study were 1) to investigate the community solid waste and hazardous waste management and the management performance, and 2) to analyze factors affecting the success of community waste management in Ban Dong Sub-District Administrative Organization, Ubolratana District, Khonkaen Province. This study was a qualitative research.  Data were collected from related documents, interviews with key informants, namely the Mayor, Deputy Mayor, Permanent Secretary, Deputy Permanent Secretary of Ban Dong Sub-District Administrative Organization, general operator assistant to sanitation officer, community leaders and people in the area, as well as observing waste management operations and area conditions. The data were then analyzed based on the concept of the Balanced Scorecard. Factors affecting the success of solid waste and hazardous waste management were analyzed using SWOT Analysis. Solid waste and hazardous waste management strategies were analyzed as a guideline for local administrative organizations using TOWS Matrix technique. The findings indicated that the effectiveness dimension of Ban Dong Sub-District Administrative Organization has been characterized by consistently developed plans/projects related to solid waste and hazardous waste management, achieving the success to meet the set objectives of plans/projects. For the management dimension, a clear assignment of agencies and responsible persons for waste management was established; implementing solid waste and hazardous waste management plans/projects could reduce the burden of solid waste disposal costs; while budget resource allocation was insufficient. For stakeholder dimension, local people have participated in waste management projects from projects/activities, to evaluation of the projects; most people were satisfied with the projects/activities on solid waste and hazardous waste management of the Sub-District Administrative Organization. For learning and development dimension, personnel development was conducted through field study in areas with successful waste management. Key factors affecting the success included the organization's leaders and personnel with their awareness of waste problems and knowledge and understanding of waste management and could convey knowledge to the public; continuous public relations about projects/activities, cooperation from community leaders and local people; and knowledge and budget support from external agencies. The problems and obstacles were insufficient number of personnel at the operation level and insufficient budget. The proposed solid waste and hazardous waste management strategies for local administrative organizations include accelerate the disposal of accumulated solid waste within the area, urgent preparation of work plans/projects to educate and create an understanding of waste management at source to the public, including the unregistered population living in the area, build understanding about not to dump waste along the roads with people in neighboring sub-districts, and give an opportunity to local recycling business to bid for recycled waste from the recycling waste bank.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการและผลการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายของชุมชน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการจัดการขยะของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง นักจัดการงานทั่วไป ผู้ช่วยนักวิชาการสุขาภิบาล ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการสังเกตการดำเนินการจัดการขยะและสภาพพื้นที่ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของ Balanced Scorecard วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายโดยใช้ทฤษฎี SWOT Analysis และวิเคราะห์แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้เทคนิค TOWS Matrix ผลการศึกษา พบว่า มิติด้านประสิทธิผล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงมีการจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามแผนงาน/โครงการ มิติด้านบริหารจัดการ ได้มีการจัดสรรหน่วยงานและผู้รับผิดชอบในงานด้านการจัดการขยะที่ชัดเจน โดยการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการด้านการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในกำจัดขยะมูลฝอยได้ การจัดสรรทรัพยากรด้านงบประมาณยังไม่เพียงพอเท่าที่ควร มิติด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำโครงการด้านการจัดการขยะตั้งแต่การจัดทำประชาคม การมีส่วนร่วมในการทำโครงการ/กิจกรรม รวมถึงมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ และประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจกับโครงการ/กิจกรรมด้านการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายขององค์การบริหารส่วนตำบล มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา มีการพัฒนาบุคลากรโดยการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่มีการจัดการขยะที่ประสบความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือ ผู้นำขององค์กรและบุคลากรที่มีความตระหนักถึงปัญหาขยะและมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนได้ มีการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่และการสนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก ปัญหาและอุปสรรคคือ บุคลากรระดับปฏิบัติงานยังมีไม่เพียงพอและงบประมาณที่มีไม่เพียงพอ แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เร่งดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างที่อยู่ภายในพื้นที่ เร่งจัดทำแผนงาน/โครงการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับประชาชน รวมถึงประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ตำบลข้างเคียงเรื่องการไม่ทิ้งขยะตามถนนหนทาง และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการค้าของเก่าในพื้นที่เข้าร่วมประมูลการรับซื้อขยะรีไซเคิลจากธนาคารขยะรีไซเคิล

Type:

Text

Language:

tha

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5854
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5910921015.pdf ( 2,383.77 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [242]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×