• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Problems of return asset connected with the commission of an offense to the injured person in a predicate offense Under the Anti-Money Laundering Act, 1999

ปัญหาการคืนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานแก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

by Chaleaw Phromphinit; เฉลียว พรหมพินิจ; Kiarttiphorn Umpai; เกียรติพร อำไพ

Title:

Problems of return asset connected with the commission of an offense to the injured person in a predicate offense Under the Anti-Money Laundering Act, 1999
ปัญหาการคืนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานแก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

Advisor:

Kiarttiphorn Umpai
เกียรติพร อำไพ

Issued date:

7/1/2022

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

Anti-Money Laundering Act, B.E. 2542 mainly focuses on protecting the right of an damaged persons caused by the predicate offence, but the Act hasn’t yet determined the meaning of an damaged persons, so there is no clearly guideline to consider the being of an damaged persons in this Act, and must be conducted simultaneously with the filing of the petition to the court ordered the assets related to the offense of vested state. Which makes damaged persons caused by the predicate offence not truly protected their rights. From studies, The law on asset forfeiture aims on breaking crime circuits by recover assets connected to crime, So the Law will merely protect an damaged persons who is directly damaged by predicate offence and is damaged to property which could calculate as the amount of money by obvious evidences and the honesty (de jure) and has not received any remedies from others. To consider whether damaged persons must consider Rechtsgut and must consider a predicate offence individually. Damaged person's right considered as a government's duty Because government have duty in preventing crimes to damage its own citizens. Moreover consign to the power of the Anti-Money Laundering Office to consider to return or repay the property to the damage person after the court orders forfeiture of property.             Finally, this Thesis to determine the meaning of an damaged persons in Anti-Money Laundering Act, B.E. 2542 to have clearer protection guidelines and the process to remedy any person who is affected by the predicate offence or filing a petition to the Court for an order that such asset be vested in the State, but they are not qualified to be protected by Anti-Money Laundering Act, B.E. 2542. In the case that asset connected with the commission of an offense is far less value than damages, involved officers have to proceed the right protection for an damaged persons, and to determine the duty of The Anti-Money Laundering Office to consider whether to return the asset connected with the commission of an offense to an damaged persons or not.
ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดมูลฐานซึ่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มุ่งคุ้มครองสิทธิของบุคคลดังกล่าวแต่กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดความหมายของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานไว้ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ตีความถ้อยคำ “ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน” ที่แตกต่างกัน และต้องดำเนินการในคราวเดียวกันกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินด้วย ซึ่งทำให้ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิของตนได้อย่างแท้จริง จากการศึกษาพบว่า ทรัพย์สินที่นำมาคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลนั้น เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและและปราบปรามการฟอกเงินของไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายว่าด้วยการริบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด มีวัตถุประสงค์เพื่อตัดวงจรอาชญากรรม โดยการนำทรัพย์สินของอาชญากรมาเป็นรายได้ของรัฐและลดแรงจูงใจในการประกอบอาชญากรรม ดั้งนั้น ผู้เสียหายที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิของตนจะต้องได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดมูลฐาน ทั้งต้องเป็นความเสียหายทางทรัพย์สินซึ่งสามารถกำหนดเป็นจำนวนเงินได้ต้องมีพยานหลักฐานแสดงถึงความเสียหายและมูลค่าความเสียหายของตน และต้องพิจารณาถึงความสุจริตของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานด้วย (ผู้เสียหายโดยนิตินัย) อีกทั้ง ต้องไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากแหล่งอื่น ๆ ทั้งนี้ การพิจารณาว่าผู้เสียหายในความผิดมูลฐานแต่ละความผิดมูลฐานเป็นใครบ้าง ต้องพิจารณาถึงคุณธรรมทางกฎหมาย (Rechtsgut) ว่ามุ่งคุ้มครองสิ่งใด โดยต้องพิจารณาในแต่ละมูลฐานความผิดไป ซึ่งพบว่าในบางความผิดมูลฐานนั้นไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐานได้ และการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ถือว่าเป็นบริการของรัฐที่ต้องดำเนินการคุ้มครองสิทธิให้ เพราะถือว่ารัฐทำหน้าที่ของตนบกพร่องในการป้องปรามอาชญากรรมจนเกิดความเสียหายกับพลเมืองของตนเอง นอกจากนี้ หากให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินไว้ แล้วให้เป็นอำนาจของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการดำเนินการพิจารณาและคืนหรือชดใช้คืนทรัพย์สินแก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะให้กำหนดความหมายของผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และควรมีวิธีการเยียวยาความเสียหายที่บุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากความผิดมูลฐานหรือได้รับผลกระทบจากมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแต่ไม่เข้าเกณฑ์การเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐานด้วย ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องดำเนินการคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานไม่ว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ยึดหรืออายัดได้มีมูลค่าน้อยก็ตาม และกำหนดให้เป็นอำนาจของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการพิจารณาคืนทรัพย์สินหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานซึ่งศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินนั้นไว้แล้ว

Keyword(s):

ู้เสียหายในความผิดมูลฐาน
คุ้มครองสิทธิ
มาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
Damaged persons
The right protection
The Court order asset be vested in the State

Type:

Text

Language:

tha

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5859
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 6011921044.pdf ( 1,834.15 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [242]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×