ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำจากชุมชน ศึกษากรณี: หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นก่อนและขณะใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
124 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b201161
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นรินทร์ภัค เกตุสุรินทร์ (2017). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำจากชุมชน ศึกษากรณี: หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นก่อนและขณะใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5863.
Title
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำจากชุมชน ศึกษากรณี: หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นก่อนและขณะใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543
Alternative Title(s)
Legal Issues About Water Pollution from Community, Studied Cases of Housing Estates Which Were Built Before and During Estate Development Act, B.E. 2543 (2000) Enforcing
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้าน
จัดสรร เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา แนวคิดและกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางน้ำจาก
ชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร เช่น ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 พ.ศ.2515 พระราชบัญญัติส่งเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อหาแนวทางใน
การแก้ไขการจัดการมลพิษทางน้ํา ที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร
จากการศึกษาพบว่า ปัญหามลพิษทางน้ําของประเทศไทยเกิดจากหลายสาเหตุซึ่งหนึ่งในนั้น คือ มลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งหมู่บ้านจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยและที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัย ที่สําคัญของมนุษย์โดยในปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นจํานวนมาก แต่ผู้ประกอบการไม่ได้คํานึงถึงการจัดทําสิ่งสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้กับหมู่บ้าน ประกอบกับการสร้างท่อระบายน้ำ ในหมู่บ้านจัดสรรของประเทศไทยเป็นการสร้างท่อระบายน้ำขึ้นมา เพื่อรองรับการระบายน้ำฝนแต่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อระบายน้ำที่ผ่านการใช้งานในชีวิตประจําวันของผู้อยู่ อาศัยในหมู่บ้านจัดสรร จึงทําให้เกิดปัญหา การปล่อยน้ําที่ผ่านการใช้แล้วมารวมกับน้ําฝนในท่อ ระบายน้ําฝนแล้วปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยที่ไม่มีการบําบัดทําให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ เมื่อ หมู่บ้านหลาย ๆ โครงการมีลักษณะเหมือนกันก็จะทําให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากหมู่บ้าน จัดสรร ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อประเทศชาติในด้านต่าง ๆ
จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชน ในหมู่บ้านจัดสรร ในกรณีที่หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 แม้ตาม ประกาศ คณะปฏิวัติจะมีข้อกําหนดเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะไว้มีการกําหนดเรื่อง ของการบําบัดน้ำเสียที่ใช้จากครัวเรือนจะต้องมีการบําบัดให้มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำที่ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมกําหนดก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็ยังคงเห็นปัญหามลพิษทางน้ำที่จาก
หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะประวัติฉบับที่ 286 แม้ต่อมา ประกาศคณะประวัติฉบับที่ 286 จะถูกยกเลิกไปแล้วแต่หมู่บ้านที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติก็ยังคงอยู่จึงต้องอาศัยบทเฉพาะกาล ในมาตรา 70 ของพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ในการเร่งรักษาสาธารณูปโภคส่วนโครงการ หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ก็ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แต่ยังมีประเด็นของการตีความว่าระบบบําบัดน้ำเสียจัดว่าเป็นบริการ สาธารณะหรือสาธารณูปโภค เนื่องจากมีความแตกต่างกันของเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงจะต้องมี การกําหนดความชัดเจนของความหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ได้มีการ ตีความหมายกว้างจนเกินไปจึงขาดความชัดเจนในการกําหนดซึ่งอาจส่งผลต่อการจัดตั้งการก่อสร้าง การจัดให้มีระบบบําบัดน้ำเสีย
รวมทั้งเมื่อมีการบําบัดน้ําเสียแล้ว ผู้ศึกษาขอเสนอแนวทางในการนําน้ำที่ผ่านการใช้แล้วนํา กลับมาใช้ใหม่โดยอาศัยหลักการ Reduce Reuse Recycle (3R) มาใช้กับประเทศไทยและนํา หลักการดังกล่าวไปกําหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งยังเป็นการจัดการน้ำเสีย โดยไม่ต้องเสียเปล่าและยังเป็น การลดวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ นอกจากนั้นเพื่อให้ประชาชน ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรใช้ น้ำเท่าที่จําเป็น เมื่อมีการใช้น้ำอย่างจําเป็นและน้ําที่ผ่านการใช้แล้วก็จะมีจํานวนลดลงทําให้เกิดมลพิษ ทางน้ำในหมู่บ้านจัดสรรน้อยลงรัฐบาลควรมีนโยบาย อย่างเช่น การคืนภาษีให้กับครัวเรือนหรือใน หมู่บ้านที่ดําเนินการดังกล่าว
จากการศึกษาพบว่า ปัญหามลพิษทางน้ําของประเทศไทยเกิดจากหลายสาเหตุซึ่งหนึ่งในนั้น คือ มลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งหมู่บ้านจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยและที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัย ที่สําคัญของมนุษย์โดยในปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นจํานวนมาก แต่ผู้ประกอบการไม่ได้คํานึงถึงการจัดทําสิ่งสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้กับหมู่บ้าน ประกอบกับการสร้างท่อระบายน้ำ ในหมู่บ้านจัดสรรของประเทศไทยเป็นการสร้างท่อระบายน้ำขึ้นมา เพื่อรองรับการระบายน้ำฝนแต่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อระบายน้ำที่ผ่านการใช้งานในชีวิตประจําวันของผู้อยู่ อาศัยในหมู่บ้านจัดสรร จึงทําให้เกิดปัญหา การปล่อยน้ําที่ผ่านการใช้แล้วมารวมกับน้ําฝนในท่อ ระบายน้ําฝนแล้วปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยที่ไม่มีการบําบัดทําให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ เมื่อ หมู่บ้านหลาย ๆ โครงการมีลักษณะเหมือนกันก็จะทําให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากหมู่บ้าน จัดสรร ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อประเทศชาติในด้านต่าง ๆ
จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชน ในหมู่บ้านจัดสรร ในกรณีที่หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 แม้ตาม ประกาศ คณะปฏิวัติจะมีข้อกําหนดเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะไว้มีการกําหนดเรื่อง ของการบําบัดน้ำเสียที่ใช้จากครัวเรือนจะต้องมีการบําบัดให้มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำที่ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมกําหนดก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็ยังคงเห็นปัญหามลพิษทางน้ำที่จาก
หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะประวัติฉบับที่ 286 แม้ต่อมา ประกาศคณะประวัติฉบับที่ 286 จะถูกยกเลิกไปแล้วแต่หมู่บ้านที่สร้างขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติก็ยังคงอยู่จึงต้องอาศัยบทเฉพาะกาล ในมาตรา 70 ของพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ในการเร่งรักษาสาธารณูปโภคส่วนโครงการ หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ก็ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แต่ยังมีประเด็นของการตีความว่าระบบบําบัดน้ำเสียจัดว่าเป็นบริการ สาธารณะหรือสาธารณูปโภค เนื่องจากมีความแตกต่างกันของเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงจะต้องมี การกําหนดความชัดเจนของความหมาย เนื่องจากพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ได้มีการ ตีความหมายกว้างจนเกินไปจึงขาดความชัดเจนในการกําหนดซึ่งอาจส่งผลต่อการจัดตั้งการก่อสร้าง การจัดให้มีระบบบําบัดน้ำเสีย
รวมทั้งเมื่อมีการบําบัดน้ําเสียแล้ว ผู้ศึกษาขอเสนอแนวทางในการนําน้ำที่ผ่านการใช้แล้วนํา กลับมาใช้ใหม่โดยอาศัยหลักการ Reduce Reuse Recycle (3R) มาใช้กับประเทศไทยและนํา หลักการดังกล่าวไปกําหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งยังเป็นการจัดการน้ำเสีย โดยไม่ต้องเสียเปล่าและยังเป็น การลดวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ นอกจากนั้นเพื่อให้ประชาชน ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรใช้ น้ำเท่าที่จําเป็น เมื่อมีการใช้น้ำอย่างจําเป็นและน้ําที่ผ่านการใช้แล้วก็จะมีจํานวนลดลงทําให้เกิดมลพิษ ทางน้ำในหมู่บ้านจัดสรรน้อยลงรัฐบาลควรมีนโยบาย อย่างเช่น การคืนภาษีให้กับครัวเรือนหรือใน หมู่บ้านที่ดําเนินการดังกล่าว