ความรับผิดชอบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
86 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b201168
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธนพร สวนอินทร์ (2017). ความรับผิดชอบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5867.
Title
ความรับผิดชอบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน
Alternative Title(s)
Social Responsibility and Quality of Work Life of Working People
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมของ
บุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และ2) ความสามารถในการทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของความ
รับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรวัยทำงาน ซึ่งทำงานในองค์การหลากหลาย ทั้งภาคเอกชน
องค์กรภาครัฐและวิสาหกิจ รวมจำนวน 423คน เก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน และแบบสอบถาม
ความรับผิดชอบต่อสังคม แบบสอบถามมีคุณภาพดีโดยพบว่ามีค่าความเชื่อมั่นในการศึกษาครั้งนี้สูง
(α = .94, .80 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรหญิง (ร้อยละ
69.5) มีอายุเฉลี่ย 34.83 ปีส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า (ร้อยละ 67.20) ผลการ
วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมมี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = .292, p<.01)
และผลการวิเคราะห์อำนาจในการทำนายคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยความรับผิดชอบต่อสังคมรายได้
4 ด้านในกลุ่มรวม พบว่าความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการใชจ่ายหรือใช้ชีวิตอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
และความรับผิดชอบต่อสังคมด้านตระหนักรู้ทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงาน
ได้ร้อยละ 10.3(F = 24.21, p<.01) ผลที่พบนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรวัย
ทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีอำนาจในการทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานชัดเจนแต่ในระดับ
น้อย (r = .292, r2= 10.3) ผลที่พบอาจเนื่องมาจากทำการศึกษากับกลุ่มบุคลากรที่ทำงานกระจาย หลากหลายรูปแบบ และส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่มีความ รับผิดชอบต่อสังคมมากอยู่แล้วแต่ยังคงต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่จึงควรทำการศึกษาเรื่อง เดียวกันนี้ในกลุ่มตัวอย่าง ระดับการศึกษาต่ำกว่า หรือศึกษาแยกกลุ่มบุคลากรที่ทำงานในองค์การแต่ละ องค์การเพื่อให้ได้ผลในรายละเอียดชัดเจนเฉพาะกลุ่ม
น้อย (r = .292, r2= 10.3) ผลที่พบอาจเนื่องมาจากทำการศึกษากับกลุ่มบุคลากรที่ทำงานกระจาย หลากหลายรูปแบบ และส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่มีความ รับผิดชอบต่อสังคมมากอยู่แล้วแต่ยังคงต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่จึงควรทำการศึกษาเรื่อง เดียวกันนี้ในกลุ่มตัวอย่าง ระดับการศึกษาต่ำกว่า หรือศึกษาแยกกลุ่มบุคลากรที่ทำงานในองค์การแต่ละ องค์การเพื่อให้ได้ผลในรายละเอียดชัดเจนเฉพาะกลุ่ม