• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

บทบาทภาครัฐในการกำหนดนโยบายด้านการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

by วรพงษ์ เพ็ชร์ขาว

Title:

บทบาทภาครัฐในการกำหนดนโยบายด้านการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

Other title(s):

Government Sector's Role in the Policy Formulation of Assistive Technology for Persons with Hearing Impairment

Author(s):

วรพงษ์ เพ็ชร์ขาว

Advisor:

พลอย สืบวิเศษ

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่อง “บทบาทภาครัฐในการกำหนดนโยบายด้านการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวย ความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการไดยิน” ได้กำหนดวตัถุประสงค์ ในการวิจัยไว้ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษานโยบาย กฎหมายด้านการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความ สะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ กำหนดนโยบาย 2) เพื่อศึกษาบทบาทภาครัฐในการส่งเสริมนโยบายด้านการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่ง อำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ 3) เพื่อวิเคราะห์ นโยบายด้านการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความ บกพร่องทางการได้ยิน
การวิจยัครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ในลักษณะ ของการบูรณาการรูปแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview: IDI) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เป็นทั้งผู้มีบทบาทผลักดันนโยบาย และผู้แทนหน่วยงานในระดับนโยบาย ซึ่งผลการศึกษาจะทำให้ทราบถึงนโยบายด้านการจัดบริการ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตลอดจนบทบาทภาครัฐในการส่งเสริมนโยบาย เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบายในการบูรณา การยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อใหม้ีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ผลการศึกษา พบว่า นโยบายด้านการจัด บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการ สื่อสารของคนพิการปรากฎอยู่ทั้งในกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติและกฎหมายของฝ่ายบริหาร นอกจากนี้พบว่านโยบายดังกล่าวปรากฏอยู่ในระดับกฎหมายสูงสุดและนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐระดับ กฎหมายและนโยบายเพื่อคนพิการ และระดับแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริการโทรคมนาคม
ซึ่งนโยบายที่ผู้วิจัยศึกษานี้เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1)องค์กรคนพิการสากล กฎหมายและนโยบายระหว่างประเทศและหลักการแนวคิดของกฎหมายต่างประเทศ 2) ผู้นำคนพิการ และองค์กรคนพิการ และ 3)การรับรู้เรื่องสิทธิ ความเสมอภาคของคนพิการและเจตคติของคนใน สังคมต่อคนพิการ นอกจากนี้พบว่านโยบายด้านการจัดบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อ การสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการไดยิน ปรากฏผู้กี่ยวข้องที่มีบทบาทสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ 2) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 3) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 4) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

Subject(s):

การสื่อสาร -- เทคโนโลยี

Keyword(s):

ความบกพร่องทางการได้ยิน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

175 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5869
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201170.pdf ( 2,320.33 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×