แนวทางการเพิ่มศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE
by จิรพร จันลา
Title: | แนวทางการเพิ่มศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE |
Other title(s): | Guidelines to increase potential of Khon Kaen Province, Thailand for MICE Tourism |
Author(s): | จิรพร จันลา |
Advisor: | โชคชัย สุเวชวัฒนกูล |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องแนวทางการเพิ่มศักยภาพของจังหวัดขอนก่นในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE ในจังหวัดขอนก่น 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของจังหวัดขอนแก่น ในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE 3) เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นใน การท่องเที่ยวรูปแบบ MICE วิธีการศึกษาแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอุปสงค์ และด้านอุปทาน สําหรับ ด้านอุปสงค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความคาดหวัง และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว กลุ่ม MICE กลุมตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักท่องเที่ยวกล่ม MICE รวมทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่สรุปตัวชี้วัดรายด้านตามลําดับ ความสําคัญในการเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพ และในด้านอุปทาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE รวมทั้งสิ้น 19 คน ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิ แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อทราบศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE และนําข้อมูลที่ได้ทั้ง 2 ด้าน มาสรุปเป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพของจังหวัดขอนแก่นในการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE ต่อไป ผลการศึกษาพบวา ระดับความคาดหวัง และระดับความพึงพอใจสูงสุด 2 อันดับได้แก่ ด้านที่พัก รองลงมาคือ ด้านสถานที่จัดงาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 8 ด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังมากกวาค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ มี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสามารถของบุคลากรที่จัดงาน 2) ด้านภาพลักษณ์ของจังหวัด 3) ด้านการสนับสนุนของภาครัฐและภาคเอกชน 4) ด้านการเข้าถึง 5) ด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 6) ด้านสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556 |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 253 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/593 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|