• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

by ยุพวดี ชินพฤทธิวงศ์

Title:

ประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Other title(s):

Mutual fund efficiency in AEC

Author(s):

ยุพวดี ชินพฤทธิวงศ์

Advisor:

สรศาสตร์ สุขเจริญสิน

Degree name:

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

บทความนี้ศึกษาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับนี้ ได้นำใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพกองทุนรวมจากวิธีData Envelopment Analysis (DEA) แทนการวัด ประสิทธิภาพแบบดั้งเดิม (Traditional Index) โดยนำสัดส่วนค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมต่อสินทรัพย์สุทธิ มาพิจารณาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมด้วย ซึ่งจากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า กองทุนรวมใน ประเทศสิงคโปร์เป็นกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยที่มีกองทุนรวมจากประเทศมาเลเซียและ ประเทศไทยมีระดับประสิทธิภาพที่รองลงมาสลับกันไปในแต่ละปีและเมื่อพิจารณาประเภทของกองทุน รวมในแต่ละประเทศ พบว่า กองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้เป็นกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพสูง กว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกองทุนรวมของทั้งสามประเทศ คือ ความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวม และสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อสินทรัพย์สุทธิของกองทุน รวม ซึ่งกองทุนรวมในประเทศไทยมีปัจจัยนำเข้าส่วนเกินทั้ง 2 ปัจจัยสูงที่สุด ส่งผลให้มีประสิทธิภาพใน ระดับต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ทั้งนี้ขนาดของกองทุนรวมเป็นปัจจัยนำเข้าส่วนเกินที่ส่งผล ต่อประสิทธิภาพของกองทุนรวมทั้ง 3 ประเทศน้อยที่สุด
สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้มุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนประสิทธิภาพของกองทุนรวมจากวิธีDEA และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของกองทุนรวมโดยใช้แบบจำลอง Ordinary Least Square (OLS) จากการศึกษาพบว่า กองทุนรวมทั้ง 3 ประเทศ มีลักษณะของกองทุนรวมที่มีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพของกองทุนรวมในเชิงบวกและเชิงลบที่แตกต่างกัน ส าหรับในประเทศมาเลเซีย หาก อันดับเรทติ้งของกองทุนรวมเพิ่มมากขึ้นจะท าให้กองทุนรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้กองทุนรวม ตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้มีค่าคะแนนประสิทธิภาพมากกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ และ กองทุนรวมตราสารทุนเป็นกองทุนรวมที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพที่ต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ แต่สำหรับในประเทศสิงคโปร์หากกองทุนรวมมีอายุมากขึ้น และอันดับเรทติ้งของกอง ทุนรวมเพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามกองทุนรวม
ขนาดใหญ่กว่ามีประสิทธิภาพของกองทุนรวมต่ำกว่ากองทุนรวมที่มีขนาดเล็กกว่า และเมื่อพิจารณาถึง ประเภทของกองทุนรวม พบว่า กองทุนรวมผสม และกองทุนรวมตราสารทุนจะมีค่าคะแนน ประสิทธิภาพที่ต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยที่กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ในต่างประเทศจะมีค่าคะแนนประสิทธิภาพของกองทุนรวมต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ อย่างมี นัยสำคัญ สำหรับประเทศไทยอันดับเรทติ้งของกองทุนรวมที่สูงขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพของกองทุนรวม เพิ่มขึ้น และหากกองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่ากองทุนรวมที่มีขนาดเล็กกว่า อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กองทุนรวมผสมจะเป็นกองทุนรวมที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาที่ต่ำกว่า กองทุนรวมประเภทอื่นๆ และกองทุนรวมตลาดเงินจะมีค่าคะแนนประสิทธิภาพที่สูงกว่ากองทุนรวม ประเภทอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ในการศึกษาความสม่ำเสมอประสิทธิภาพของกองทุนรวมของทั้ง 3 ประเทศ จากวิธี Transference Matrixes และการหาความสัมพันธ์ของค่าคะแนนประสิทธิภาพในอดีตและค่าคะแนน ประสิทธิภาพในปัจจุบัน ซึ่งจากผลการศึกษาทั้งสองวิธี พบว่า กองทุนรวมทั้งสามประเทศมีความ สม่ำเสมอในด้านของประสิทธิภาพของกองทุนรวม ค่าคะแนนประสิทธิภาพในอดีตและค่าคะแนน ประสิทธิภาพในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก และกองทุนรวมส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มควอร์ไทล์ เดิม โดยที่ในประเทศมาเลเซียหากกองทุนรวมมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้มีโอกาสความน่าจะเป็นที่กองทุน รวมอยู่ในกลุ่มประสิทธิภาพเดิมเพิ่มขึ้น แต่หากกองทุนรวมตลาดเงินเป็นเป็นปัจจัยที่มีความน่าจะเป็นที่ จะเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพเพิ่มมากกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ สำหรับในประเทศสิงคโปร์อันดับเรท ติ้งสูงขึ้นทำให้มีโอกาสความน่าจะเป็นที่เปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น และหากเป็นกองทุนรวมตราสาร ทุน กองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุนรวมผสมมีความน่าจะเป็นที่จะเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพมากกว่า กองทุนรวมประเภทอื่นๆ แต่หากเป็นกองทุนรวมตลาดเงินมีความน่าจะเป็นที่จะอยู่ในกลุ่มประสิทธิภาพ เดิมมากกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ เช่นเดียวกันกับกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศมี ความน่าจะเป็นที่จะอยู่ในกลุ่มประสิทธิภาพเดิมมากกว่ากองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในประเทศ ทั้งนี้ใน ประเทศไทย หากอายุของกองทุนรวมมากขึ้นมีโอกาสเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และหาก กองทุนรวมมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้กองทุนรวมมีโอกาสที่จะเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น
จากผลของงานวิจัยฉบับนี้เป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายในการแข่งขัน และกลยุทธ์ของทั้งใน บริษัทจัดการลงทุนกองทุนรวม ภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินนโยบายการลงทุน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกองทุนรวมในแต่ละประเทศต่อไปใน อนาคต และยังเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนในการเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มี ประสิทธิภาพและมีความสม่ำเสมอของประสิทธิภาพในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Subject(s):

กองทุนรวม -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Keyword(s):

กองทุนตราสารหนี้

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

108 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5937
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203103 (2).pdf ( 1,922.90 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSDE: Theses [69]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×