dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ มนต์พานทอง | th |
dc.contributor.author | จรรจิรา ดาราชาติ | th |
dc.date.accessioned | 2022-08-04T02:51:24Z | |
dc.date.available | 2022-08-04T02:51:24Z | |
dc.date.issued | 2017 | th |
dc.identifier | b203109 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5969 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมตาม
ความคาดหวังของสถานประกอบการ 2) เพื่อประเมินสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของ
สถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ตตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถาน
ประกอบการ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษา
อาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรในสถานประกอบการโรงแรม ระดับผู้จัดการแผนก หัวหน้างาน
และผู้ร่วมงานในระดับปฏิบัติการของนักศึกษา ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ตส่งนักศึกษาเข้ารับการฝึกงาน
ปีการศึกษา พ.ศ.2559 ในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มและแผนกแม่บ้านโรงแรม ใช้วิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) จำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม
โดยศึกษาและสร้างเครื่องมือการวิจัยสมรรถนะนักศึกษาตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ ระดับคุณวุฒิวิชาชีพ 4
ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ความรู้ทักษะ คุณสมบัติที่พึงประสงค์ผลผลิต นวัตกรรม
การประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่การแจกแจงหาความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติt-test สถิติF-test สถิติPaired Sample t-test และเครื่องมือ
การวิเคราะห์ความสำคัญและผลการดำเนินงาน (Importance-performance analysis: IPA) | th |
dc.description.abstract | ผลการศึกษาพบว่า สถานประกอบการมีการความคาดหวังต่อนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของ
สถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ตในด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์มากที่สุด และพบว่าผลการปฏิบัติงานของ
นักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์อยู่ในระดับดีเมื่อคำนวณหาค่าความต่างหรือ
ช่องว่างระหว่างความคาดหวังของสถานประกอบการและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้ง 7 ด้าน
พบว่าความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมสูงกว่าผลการปฏิบัติงาน
ของนักศึกษาในทุกด้าน เว้นแต่ด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์ โดยด้านที่มีช่องว่างระหว่างความคาดหวัง
และผลการปฏิบัติงานเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านผลผลิต ด้านทักษะ | th |
dc.description.abstract | ด้านการประยุกต์ใช้ด้านความรู้และด้านนวัตกรรม เมื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความสำคัญและผลการ
ดำเนินงาน (Importance-performance analysis: IPA) พบว่า มีด้านที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา
นักศึกษาอย่างเร่งด่วน คือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านผลผลิต และด้านการประยุกต์ใช้ส่วนด้านที่ควรมี
แนวทางส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษามีสมรรถนะที่สูงขึ้น คือ ด้านความรู้ด้านทักษะ คุณสมบัติที่พึงประสงค์
และนวัตกรรม | th |
dc.description.abstract | แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ที่ไม่
เป็นไปตามความคาดหวังของสถานประกอบการ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรับผิดชอบ เน้น
กิจกรรมกลุ่มมาใช้ในการพัฒนาความรับผิดชอบของนักศึกษา ก่อเกิดการพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันใน
สังคม การทำงานร่วมกันซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการท างานเป็นทีม เพื่อทำให้ประสบผลสำเร็จ
และอาจก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือความรู้ใหม่ จากการร่วมแรงร่วมใจกัน 2) ด้าน
ผลผลิต ส่งเสริมการฝึกอบรมผู้เรียนในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบ
กระบวนการเรียนให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยใช้ความรู้ทางทฤษฎี
และเทคนิคในการปฏิบัติงาน โดยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน (Problem-Based Learning :
PBL) 3) ด้านการประยุกต์ใช้ส่งเสริมความสามารถปฏิบัติงานที่หลากหลายที่สอดคล้องกับทักษะการ
เรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ
การเรียนรู้3R x 7C ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนเข้าสู่ โลกการทำงาน โดยจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) และแนวทางการส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษามี
สมรรถนะสูงขึ้น มี4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากลงมือปฏิบัติในสาขาวิชาชีพ
เพื่อให้เกิดความรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและต่อยอดความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง 2) ด้าน
ทักษะ ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกงาน/ฝึกอาชีพในสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน
ร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานอื่นให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) ด้านคุณสมบัติที่พึง
ประสงค์จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณสมบัติที่พึงประสงค์ เช่น การตรงต่อเวลา คำนึงผลประโยชน์
ของส่วนรวม มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ได้รับมอบหมายให้เกิดผลส าเร็จภายในเวลาที่
กำหนด เป็นต้น สู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรม 4) ด้านนวัตกรรม จัดการศึกษาแบบ STEM
Education กล่าวคือ การน าความรู้จาก 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี
(Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์(Mathematics) มาเชื่อมโยงกัน มา
บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงานส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
ชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงาน ที่มุ่งแก้ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริม
ประสบการณ์ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม | th |
dc.description.provenance | Submitted by Chitjai Singhapong (chitjai.s@nida.ac.th) on 2022-08-04T02:51:24Z
No. of bitstreams: 1
b203109.pdf: 3110369 bytes, checksum: 35d792af32db6e9c341288f354a75d3e (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2022-08-04T02:51:24Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b203109.pdf: 3110369 bytes, checksum: 35d792af32db6e9c341288f354a75d3e (MD5)
Previous issue date: 2017 | th |
dc.format.extent | 223 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.subject | สมรรถนะ -- การประเมิน | th |
dc.subject.other | นักศึกษา -- สมรรถนะ | th |
dc.title | แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ | th |
dc.title.alternative | Competency Improvement Guideline of Students in Hospitality Affair of Phuket Vocational College According to Thailand Professional Qualification Framework (TPQF) to Response the Expectations of Enterprises. | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะการจัดการการท่องเที่ยว | th |