• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการจัดการมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

by วิมลรัตน์ บุญศรีรัตน์

Title:

แนวทางการจัดการมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

Other title(s):

Guideline of Gastronomic Standard Management for Tourism in Phuket Province

Author(s):

วิมลรัตน์ บุญศรีรัตน์

Advisor:

ไพฑูรย์ มนต์พานทอง

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและ การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสำรวจอาหารและร้านอาหารพื้นเมืองในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อ ประเมินการจัดการอาหารเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อสร้างแนวทางการ จัดการมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ใช้แบบสอบถามประธานชมรมเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต มัคคุเทศก์และพ่อครัวหรือแม่ครัว (Chef) จำนวน 38 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยว 8 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านอาหาร ด้านกระบวนการ (การเตรียม ปรุงอาหาร การจัดเก็บอาหารที่ ปรุงเสร็จ) ด้านบุคลากร ด้านภาชนะ อุปกรณ์(วัสดุที่ใช้งาน การทำความสะอาดและการเก็บรักษา) ด้าน ความปลอดภัย (สถานที่ตั้ง) ด้านการให้บริการนักท่องเที่ยว (ผู้ให้บริการ สถานที่ตั้งร้าน) ด้านการ ตระหนัก รักษา และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม เก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวไทยและ ชาวต่างชาติจำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน เพื่อ ทราบถึงระดับความคาดหวังก่อนการใช้บริการและระดับความพึงพอใจหลังจากการใช้บริการค้นหาแนว ทางการจัดการมาตรฐานเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
ผลจากการศึกษาสภาพบริบทการจัดการมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ในจังหวัดภูเก็ต พบว่า อาหารท้องถิ่นที่นิยมในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ หมี่ฮกเกี้ยน โอเอ๋ว หมูฮ้อง และโลบะ ตามล าดับ ส่วน ร้านอาหารที่นิยม ได้แก่ ร้านหมี่ต้นโพธิ์ร้านลกเที้ยน ศูนย์อาหารพื้นเมืองใต้ต้นฉำฉา ร้านทุ่งคากาแฟ และผลจากการศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยวต่อคุณภาพมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ทั้ง 8 ด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังด้านบุคลากรมากที่สุดและนักท่องเที่ยวมีความคาดหวังโดยรวม อยู่ในระดับมาก และยังพบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านบุคลากรมากที่สุด ซึ่งนักท่องเที่ยวมีความ พึงพอใจต่อการจัดการมาตรฐานอาหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการ มาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยว พบว่า ค่าเฉลี่ยของความคาดหวังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ
ทุกด้าน ดังนั้น จากผลการศึกษาดังกล่าวผู้วิจัยได้เสนอแนวทางที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการจัดการ มาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ให้กับนักท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นต่ออาหาร ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตต่อไป ดังนี้1) แนวทางการยกระดับคุณภาพมาตรฐานบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย 2) แนวทางการเสริมสร้างความตระหนัก รักษา และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม 3) แนว ทางการพัฒนาด้านสถานที่ 4) แนวทางการยกระดับมาตรฐานด้านอาหาร 5) แนวทางการพัฒนาด้าน กระบวนการ บุคลากรร้านอาหาร และการบริการแก่นักท่องเที่ยว

Subject(s):

การจัดการ -- อาหาร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

172 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5971
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203111.pdf ( 2,826.86 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [125]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×