• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล

by อาภาภรณ์ หาโส๊ะ

Title:

แนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยว กรณีศึกษา เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล

Other title(s):

Social Impacts Management A Case Study of Lipe Island, Satun Province

Author(s):

อาภาภรณ์ หาโส๊ะ

Advisor:

กนกกานต์ แก้วนุช

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผลกระทบทางสังคม จากการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของประชาชน ที่มีต่อผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน 3) ศึกษาทัศนคติของ ประชาชนที่มีต่อผลกระทบทางสังคมที่ส่งผลต่อการสนับสนุน (พฤติกรรมของเจ้าบ้าน) การพัฒนาการ ท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมจากการ พัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่1, 2 และ 3 นั้น ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้ แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจ านวน 384 คน ที่เป็นประชากรที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ และใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติt-test สถิติF-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)ในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบ มีโครงสร้าง (Structured Interview) ในการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 7 ท่าน เพื่อเสนอแนว ทางการจัดการผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผลกระทบทางสังคมทั้งเชิงบวกและเชิงลบโดย รวมอยู่ในระดับ เห็นด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผลกระทบทางสังคมเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ (ค่าเฉลี่ย 3.93 และ 3.51 ตามล าดับ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของประชาชนในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เพศ ช่วงอายุการจบการศึกษา ระยะทางจากที่อยู่อาศัยถึงหาดพัทยาหรือหาดบันดาหยา รายได้ต่อ เดือน (บาท) อาชีพ สถานที่เกิด ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ ความรู้สึกผูกพันกับเกาะหลี เป๊ะ ความรู้สึกที่มีต่อนักท่องเที่ยว การเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆที่เกิดขึ้นในเกาะหลีเป๊ะ การมีส่วนร่วมใน การวางแผนด้านการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผนด้านการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมใน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลด้านการ ท่องเที่ยว และพบว่าทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผลกระทบทางสังคมทั้งเชิงบวกและเชิงลบฯนั้นส่งผล
ต่อการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะ จากผลการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมจากการ พัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในเชิงนโยบาย ได้แก่ นโยบายการการสร้างรายได้เสริมให้กับ ประชาชนในพื้นที่ นโยบายการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ นโยบายการส่งเสริมทักษะการ ให้บริการ นโยบายด้านคุณภาพของการเดินทาง นโยบายด้านการก าหนดและควบคุมราคาที่พัก บัตร โดยสาร และค่าธรรมเนียม นโยบายการเรียนรู้ระบบการท างานทั้งระบบของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยว นโยบายการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะ และ นโยบายการบริหารจัดการในพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ

Subject(s):

การท่องเที่ยว

Keyword(s):

สตูล -- การท่องเที่ยว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

401 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5972
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203112.pdf ( 9,745.25 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [125]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×