กลยุทธ์การขับเคลื่อนการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
by วรเชษฐ์ แสงอรุณ
Title: | กลยุทธ์การขับเคลื่อนการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร |
Other title(s): | Strategies ot drive people's choice of electric vehicles in Bangkok |
Author(s): | วรเชษฐ์ แสงอรุณ |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.29 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และนำเสนอกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการศึกษา ประกอบด้วย การทบทวนและวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษา จำนวน 9 คน การวิเคราะห์ช่องว่างของการดำเนินงานตามนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการดำเนินนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ซึ่งอาศัยหรือทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 424 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ด้วย SWOT Analysis เพื่อมากำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชน โดยใช้ TOWS Matrix และนำเสนอโดยแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ตามมิติของหลักการ Balanced Scorecard (BSC) เพื่อแสดงความเชื่อมโยงและแนวทางการขับเคลื่อนกลยุทธ์
ผลการศึกษาพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการเพิ่มแรงจูงใจทางการเงินและให้ภาคเอกชนเร่งพัฒนาความจุของแบตเตอรี่รวมถึงระบบอัดประจุไฟฟ้าให้รวดเร็ว ในขณะที่มีความกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าและระยะการเดินทางต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (การลดปัญหามลภาวะทางอากาศและเสียง) ด้านกฎหมาย (มาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า) และด้านการบริหารจัดการ (โครงสร้างพื้นฐานและสถานีซ่อมบำรุง) ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาพบช่องว่างทางกลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายไม่มีแผนปฏิบัติการและตัวชี้วัดในแต่ละปีที่ชัดเจน บุคลากรขาดทักษะในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน มาตรฐานบังคับ (มอก.) ของรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญ รถยนต์ไฟฟ้ายังมีราคาสูงกว่ารถยนต์สันดาปภายใน และความกังวลของสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ไม่ครอบคลุมทั่วภูมิภาค และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการขับเคลื่อนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพบว่าประเทศไทยมีจุดแข็งคือความพร้อมในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับภาครัฐมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก แต่มีจุดอ่อนคือผู้ประกอบการเดิมบางรายไม่มีความพร้อมและปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ทดสอบมาตรฐานระดับสากลอาจทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันได้ หากผู้ประกอบการใดปรับตัวได้ทันก็เป็นการสร้างโอกาสในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากทั่วโลกมีนโยบายเลิกจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายในและมีนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกในภาคคมนาคมขนส่ง แต่ก็ยังมีอุปสรรคในด้านต้นทุนการผลิต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการบริหารจัดการแบตเตอรี่ ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากต่างประเทศที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นจึงได้นำเสนอ 5 ยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขช่องว่างข้อจำกัดและสนับสนุนจุดแข็งเพื่อเปิดรับโอกาสการพัฒนา ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สถานีอัดประจุไฟฟ้า และศูนย์ทดสอบ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ยุทธศาสตร์ที่ 3 การทบทวนความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับปรุง มาตรฐาน กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ให้มีความทันสมัย เป็นธรรม และเอื้อต่อการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และยุทธศาสตร์ที่ 5 การสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านยานยนต์ไฟฟ้าสู่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | Electric vehicles |
Keyword(s): | e-Thesis
รถยนต์ไฟฟ้า กลยุทธ์ขับเคลื่อน การวิเคราะห์ช่องว่าง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 246 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5982 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|