การพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
by นวพร อารีมิตร
Title: | การพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา |
Other title(s): | Development of the airside and landside facility management at U-Tapao International Airport |
Author(s): | นวพร อารีมิตร |
Advisor: | พัทรียา หลักเพ็ชร |
Degree name: | การจัดการมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา 2 ด้าน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้โดยสารสัญชาติไทยที่เดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำ ณ ท่าอากาศยานนนาชาติอู่ตะเภา จำนวน 450 คน โดยใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ทดสอบ t-test และสถิติที่ทดสอบ F-Test และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิจัยในการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบิน ของท่าอากาศยานนนาชาติอู่ตะเภา รวมทั้งสิ้น 6 ท่าน ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิ แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อทราบศักยภาพการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และนำข้อมูลที่ได้ทั้ง 2 ด้าน มาสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ผลการวิจัยพบว่า ผู้โดยสารมีระดับความคาดหวังด้านความพร้อมของบุคลากรผู้ให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 กล่าวคือ มีระดับความคาดหวังอยู่ในระดับมาก และผู้โดยสารมีความพึงพอใจด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 กล่าวคือ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ส่งผลต่อระดับความคาดหวังของผู้โดยสารที่แตกต่างกัน และปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย อายุและรายได้ต่อเดือนส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้โดยสารที่แตกต่างกัน จากการเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสาร พบว่า ระดับความคาดหวังของผู้โดยสารสูงกว่าระดับความพึงพอใจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกด้าน จากการสังเคราะห์ผลการศึกษาการเสนอแนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกภายในและนอกเขตการบินของท่าอากาศยาน ควรมีการปรับปรุงคุณภาพการบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทั้ง 6 ด้าน เพื่อลดช่องว่างระหว่างระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | ท่าอากาศยาน |
Keyword(s): | e-Thesis
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 379 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5986 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|