แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 3 ดาว จังหวัดพังงา
by ภุชงค์กร จินดาพล
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 3 ดาว จังหวัดพังงา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development guideline of English communication potentiality for receptionists : a case study of 3 star hotel in Phang Nga Province |
ผู้แต่ง: | ภุชงค์กร จินดาพล |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ไพฑูรย์ มนต์พานทอง |
ชื่อปริญญา: | การจัดการมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
ผลการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 3 ดาว จังหวัดพังงา 2) ศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 3 ดาว จังหวัดพังงา 3) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 3 ดาว จังหวัดพังงา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเท่านั้น และมีระยะเวลาในการเข้าพักจำนวน 2 คืนขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ ร้อยละ และข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพ และปัจจัยด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าโรงแรมระดับ 3 ดาว จังหวัดพังงา วิเคราะห์โดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้สถิต F-test (One Way ANOVA)
ผลการศึกษา พบว่า ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย ด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย ด้านความคล่องแคล่วในการสนทนา มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ด้านผลผลิตของการเรียนรู้ พบว่า ด้านทัศนคติที่ดีต่อการบริการ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ด้านการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ด้านผลลัพธ์ของการเรียนรู้ พบว่า ด้านการฟังแล้วเกิดความเข้าใจ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการพูดแล้วเกิดความเข้าใจ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ และด้านผลกระทบของการเรียนรู้ พบว่า ด้านการมีไหวพริบในการแก้ไขปัญหา มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง
ปัจจัยด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้า พบว่า การแสดงความเคารพอย่างไทย มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมากที่สุด การกล่าวต้อนรับอย่างสุภาพ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมากที่สุด ทำการเช็คอินตามวิธีการและขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ใช้เวลาในการเช็คอินได้อย่างเหมาะสม มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ชี้แจงรายละเอียดของห้องพักและอำนวยความสะดวกภายในโรงแรม มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหาร แหล่งซื้อของ สถานที่ท่องเที่ยว ที่ใกล้กับที่พักได้อย่างถูกต้อง มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย สามารถจัดการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินเบื้องต้นได้ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง การให้บริการอย่างเป็นมิตร มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ความกระตือรือร้นในการให้บริการ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง การแสดงออกอย่างไม่เลือกปฏิบัติ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ให้ความช่วยเหลือประสานงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ทำการเช็คเอ้าท์ตามวิธีการและขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง ใช้เวลาในการเช็คเอ้าท์ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ใช้เวลาในการตรวจสอบห้องพักก่อนทำการเช็คเอ้าท์ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมาก บิลค่าใช้จ่ายถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง การกล่าวประโยคสร้างความประทับใจให้กลับมาใช้บริการอีก มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย
ความตั้งใจด้านพฤติกรรมของผู้รับบริการ พบว่า การได้รับการบริการที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับมาก การอยากกลับมาใช้บริการซ้ำ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย การนึกถึงเป็นอันดับแรก มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย การบอกต่อ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย การสมัครสมาชิก มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อย ข้อร้องเรียน มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อยที่สุด และข้อเสนอแนะ มีระดับสมรรถนะอยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ
ผลการวิจัยมีแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมจากภาคเอกชน และหน่วยงานส่งเสริมจากภาครัฐ ในพื้นที่จังหวัดพังงา สามารถนำไปพัฒนาจัดการด้านพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ดังนี้ ประโยชน์ต่อภาครัฐเพื่อไปใช้ในการวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มอาชีพในพื้นที่ และภาคเอกชนเพื่อในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานต้อนรับในองค์กรของตนเอง เพื่อการบริการของพนักงานที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | พนักงานโรงแรม -- การฝึกอบรม
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน |
คำสำคัญ: | e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 214 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6010 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|