การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
by สิรินภา จงเกษกรณ์
Title: | การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต |
Other title(s): | Developing the participation of people in the generation Y community in sustainable tourism management case study of Phuket Oldtown |
Author(s): | สิรินภา จงเกษกรณ์ |
Advisor: | กนกกานต์ แก้วนุช |
Degree name: | การจัดการมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.19 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและแรงผลักดันเข้าร่วมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 2. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยว ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 3. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนในชุมชนกลุ่ม Gen Y (อายุระหว่าง 23-40ปี) พื้นที่บริเวณภายในและบริเวณโดยรอบของชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าชาร์เตอร์แบงค์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งประกอบไปด้วย ถนนกระบี่ ถนนภูเก็ต ถนนเยาวราช ถนนพังงา และถนนถลาง จำนวน 300 คน โดยการใช้สูตรการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ W.G. Cochran (1953) กลุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ ต้องเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ควบคู่กับวิธีการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
ผลการวิจัยพบว่า แรงผลักดันเข้าร่วมของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านผลประโยชน์จากการเข้าร่วม อยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความผูกพันกับชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ( มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.76) ปัจจัยด้านความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชน อยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.09) และต่ำที่สุด คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลของผู้นำ อยู่ในระดับน้อยที่สุด (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.49) และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับและแบ่งผลประโยชน์ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.23) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.94) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล มีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.07) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.06) และต่ำที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล มีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อยที่สุด (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ1.73)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากคำถามจำนวน 12 ข้อ พบว่าคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y มีความรู้ ความเข้าใจในระดับสูงเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 6 ข้อ มีความรู้ ความเข้าใจในระดับปานกลาง จำนวน 1 ข้อ และมีความรู้ ความเข้าใจต่ำเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 5 ข้อ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | การพัฒนาแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยว -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Keyword(s): | e-Thesis
เจนเนอเรชั่นวาย |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 143 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5990 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|