ประเด็นท้าทายเกี่ยวกับคุ้มครองสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรค
by ปวีณ นราเมธกุล
Title: | ประเด็นท้าทายเกี่ยวกับคุ้มครองสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรค |
Other title(s): | Challenging issues pertaining protection of the patent regarding human genetics unit for disease treatment |
Author(s): | ปวีณ นราเมธกุล |
Advisor: | วริยา ล้ำเลิศ |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.6 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การคิดค้นวิธีการตัดต่อยีนโดยระบบ CRISPR Gene Editing สามารถนำมารักษาผู้ป่วยได้หลายโรค และด้วยศักยภาพนี้ได้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ควบคุมองค์ประกอบพื้นฐานของชีวิตได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหน่วยพันธุกรรมมนุษย์ซึ่งให้ผลตอบแทนในทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก นับเป็นการเปิดทางไปสู่วิธีการใหม่ ๆ สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ระบบ CRISPR-Cas9 ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรครั้งแรกในปีพ.ศ. 2556 ทำให้เห็นว่ากฎหมายสิทธิบัตรมีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญยิ่งต่อการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์จากยีนมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม การขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์ได้อาจก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมตามมา อาทิ ปัญหาความเหมะสมในการขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์ ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตร ขอบเขตแห่งสิทธิของผู้ทรงสิทธิในหน่วยพันธุกรรมมนุษย์ ผลกระทบที่พึงเกิดขึ้นในสังคมจากการให้ความคุ้มครองแก่สิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์ หรือการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะกับการได้รับผลตอบแทนจากการประดิษฐ์ จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมานำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษาหลัก 2 ประการคือ เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตการคุ้มครองสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรค จากแนวคิด ทฤษฎี และขอบเขตของการขอรับสิทธิบัตร และผลกระทบที่เกี่ยวข้อง และ เพื่อเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสทธิบัตร พ.ศ. 2522 เพื่อให้สามารถขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคได้อย่างเหมาะสมกับบริบท ของประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดให้มีหลักการการคุ้มครองทรัพย์สินทางสินทางปัญญาดังกล่าวบัญญัติไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ
จากการศึกษาหลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิบัตรหน่วย พันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรค และการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศและไทยที่เกี่ยวข้องกับการขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคพบว่าความหมายของหน่วยพันธุกรรมมนุษย์ (human genes) นั้นไม่ได้มีการบัญญัติในกฎหมายสิทธิบัตรไว้แต่อย่างใด ส่งผลถึงความชัดเจนในแง่การตีความของหน่วยงานรัฐี่รับผิดชอบต่อการขอรับสิทธิบัตรโดยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคและกระบวนการยุติธรรมกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ขอรับกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในส่วนขององค์ประกอบของการขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการคุ้มครองหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคผ่านระบบการขอรับสิทธิบัตร หากระบุองค์ประกอบของการขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคให้มีความชัดเจน จะสามารถแก้ปัญหาการระบุขอบเขตในข้อถือสิทธิ (claims) ที่กว้างขวางจนเกินไป ในการวิเคราะห์คุณสมบัติของการขอรับสิทธิบัตรในหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคนั้น พบว่าหากมีการปรับแก้ มาตรา 9 (1) แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นจะเกิดคุณประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ผู้ศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงข้อค้นพบอีก 2 ประการคือ การวิเคราะห์ผลกระทบการให้ความคุ้มครองการขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรค และข้อจำกัดและประเด็นท้าทายในการขอรับสิทธิบัตรในหน่วนพัธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็นคือ การบัญญัติการคุ้มครองสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคในรัฐธรรมนูญ ข้อจำกัดในการขอรับสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองการใช้ประโยชน์จากหน่วยพันธุกรรมเพื่อการรักษาโรค และประเด็นท้าทายในด้านจริยธรรมในการให้สิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมเพื่อการรักษาโรค
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ ลดปัญหาและอุปสรรคในด้านระยะเวลาที่เนิ่นช้า ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเทคโนโลยีชีวโมเลกุล และก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การลงทุนต่อการค้นคว้า วิจัย และคุ้มครองผู้ทรงสิทธิบัตรอย่างเหมาะสม สร้างดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิบัตรและการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะต่อการรักษาโรค ผู้ศึกษาจึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อยินยอมให้มีการขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาในประเทศไทย โดยเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เพื่อให้สามารถขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรคได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดให้มีหลักการการคุ้มครองทรัพย์สินทางสินทางปัญญาดังกล่าวบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | สิทธิบัตร
สิทธิบัตร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กฎหมายสิทธิบัตร |
Keyword(s): | e-Thesis
พันธุกรรมมนุษย์ |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 331 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6000 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|