• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย

by พีรันธร พัวเจริญ

Title:

แนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย

Other title(s):

Guidelines for development of facility management in regional secondary airports in Thailand

Author(s):

พีรันธร พัวเจริญ

Advisor:

วรรักษ์ สุเฌอ

Degree name:

การจัดการมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองใน ภูมิภาคของไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน รองในภูมิภาคของไทย 2) เพื่อสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยาน รองในภูมิภาคของไทย 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน รองในภูมิภาคของไทยและ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของ ท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากท่าอากาศยาน พิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ท่าอากาศยานระนอง รวม 400 คน สถิติที่ใช้ได้แก่การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) สถิติChi-square และ Pearson Correlation coefficient เพื่อหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวแปรโดยกำหนดความเชื่อมั่นระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า 1) ท่าอากาศยานมีบริบทของการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกใน การให้บริการแก่ผู้ใช้บริการคือ ลานจอดรถ ป้ายบอกทาง ร้านอาหาร ห้องสุขา ที่นั่งพักคอย ฝ่ายรักษา ความปลอดภัย จุดเช็คอิน จุดตรวจร่างกาย จุดบริการโทรศัพท์สาธารณะ ข้อมูลตารางการบิน จุดรับ สัมภาระ จุดบริการรถแท็กซี่ ซึ่งในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับใน แต่ละปีการเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น 2) พฤติกรรมการใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองกลุ่มตัวอย่างใช้บริการท่าอากาศ ยานในรอบ 1 ปี1-2 ครั้ง ส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัวเดินทางมาท่าอากาศยาน ชอบป้ายสัญลักษณ์ที่ตั้งอยู่ใน ที่ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุด นิยมเลือกซื้อของขบเคี้ยว/เบเกอร์รี่ระหว่างรอขึ้น-ลงเครื่องบินโดยสารมาก ที่สุด มีความต้องการใช้บริการจุดบริการตู้เอทีเอ็มมากที่สุด รองลงมาจุดบริการอินเตอร์เน็ต ไวไฟ และ จุดบริการชาร์ตแบตโทรศัพท์มือถือ 3)ระดับความพึงพอใจต่อการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่า อากาศยานของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ((X̅)=3.29, SD=.737) 4) แนวทางการ
พัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย (1) เพิ่มเติมสิ่งอำนวย ความสะดวกที่นั่งพักคอยทั้งด้านขาออกและขาเข้า (นั่งคอยญาติ) จุดเช็คอินและจุดตรวจร่างกายและ สัมภาระ จุดบริการสัญญาณอินเตอร์เน็ต (wifi) จุดชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ จุดเช็คอินอัตโนมัติ ทางเชื่อมเข้าเครื่อง สถานที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์จุดบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และตู้บริการ กดเงินอัตโนมัติ(ATM) (2) ควรปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย ความสะอาดของห้องสุขา การ ให้บริการของพนักงาน จุดบริการรถแท็กซี่และความสะอาดของร้านอาหาร 5) เพศมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการใช้รถยนต์เดินทางมาท่าอากาศยาน อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปีและด้านการรับประทานอาหารในท่าอากาศยาน การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ บริการในรอบ 1 ปีด้านการใช้รถยนต์ในการเดินทางมาท่าอากาศยาน และด้านราคาอาหาร อาชีพมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในท่าอากาศยาน รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ บริการในทุกด้านคือด้านพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปีด้านการใช้เวลาในท่าอากาศยาน ด้านการ ใช้รถยนต์ในการเดินทางมาท่าอากาศยาน ด้านที่จอดรถยนต์ด้านการรับประทานอาหารในท่าอากาศ ยาน ด้านราคาอาหาร และ ด้านการซื้อสินค้าในท่าอากาศยาน สถานภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การเลือกซื้ออาหาร (ราคา) และความพึงพอใจในด้านต่างๆ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการจัดการ สิ่งอ านวยความสะดวกในภาพรวม เรียงล าดับดังนี้ด้านจุดรับสัมภาระ ด้านจุดตรวจร่างกายและสัมภาระ ด้านจุดเช็คอิน ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านร้านค้า ด้านจุดให้ข้อมูลท่องเที่ยวและจองโรงแรม ด้าน ป้ายแสดงข้อมูลตารางการบิน ด้านการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ ด้านจุดที่พักนั่งคอย ด้านจุดบริการ รถยนต์เช่า ด้านป้ายภายในอาคาร ด้านจุดบริการรถเข็น ด้านจุดคอยรถโดยสาร ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านป้ายบอกทางภายนอกอาคาร ด้านลานจอดรถยนต์และด้านร้านอาหาร

Description:

วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

ท่าอากาศยาน

Keyword(s):

การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
สิ่งอำนวยความสะดวก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

353 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6010
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203113.pdf ( 4,028.54 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×