• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

A STUDY OF ROLES OF CIVIL SOCIETY, PRIVATE SECTOR  AND PUBLIC SECTOR FOR ORGANIC AGRICULTURAL  POLICY IMPLEMENTATION: A CASE STUDY OF  ORGANIC RICE IN LOWER NORTHEASTERN REGION

การศึกษาบทบาทภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการนำนโยบายเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีการปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

by Phengkamon Marnarath; เพียงกมล มานะรัตน์; Anchana Na Ranong; อัญชนา ณ ระนอง; National Institute of Development Administration. School of Public Administration

Title:

A STUDY OF ROLES OF CIVIL SOCIETY, PRIVATE SECTOR  AND PUBLIC SECTOR FOR ORGANIC AGRICULTURAL  POLICY IMPLEMENTATION: A CASE STUDY OF  ORGANIC RICE IN LOWER NORTHEASTERN REGION
การศึกษาบทบาทภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการนำนโยบายเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีการปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Contributor(s):

National Institute of Development Administration. School of Public Administration

Advisor:

Anchana Na Ranong
อัญชนา ณ ระนอง

Issued date:

3/6/2022

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

A Study of Roles of Civil Society, Private Sector and Public Sectors for Organic Agricultural Policy Implementation: A Case Study of Organic Rice in Lower Northeastern Region is aimed at 1) studying the development of organic rice cultivation promotion and the roles of civil society and the private and public sectors in implementing organic rice cultivation promotional policies in Lower Northeastern provinces; 2) studying the models for  implementing policies to promote organic rice cultivation in three provinces; and 3) studying the successes, problems and obstacles in the implementation of organic rice cultivation promotional policies. The study involved qualitative research based on interviews with people from civil society and the private and public sectors related to organic rice, observation and information from relevant documents as the major tools for data collection.   The findings indicate that development of organic rice in the Lower Northeastern provinces was divided into four phases, namely, Phase 1: organic rice and agriculture by the civil society and private sectors (1985-2002); Phase 2: organic rice growth through the provincial policies of some governors, e.g. Surin and Yasothon Provinces; Phase 3: formulation of the first to the second national organic agricultural development strategies (2008-2016); and Phase 4: after the announcement of the second national organic agricultural development strategy (2017-present). As for the roles of civil society and the private and public sectors, it is evident that civil society and the private sector play a great role in promoting completely organic rice, especially during the period in which the Thai public sector still supported agriculture using chemicals, although the public sector switched to the promotion of organic agriculture later on. However, civil society and the private sector still have more expertise than the public sector in using their experience in marketing to lead production. However, the implementation of policy by the three provinces has faced problems and obstacles, such as access to sources of funding, marketing channels, complete knowledge of organic agriculture, shortages of workforce, issues caused by policies and operations of the public sector, as well as collaboration between NGOs and the public sector. Concerning the adoption of organic rice promotional policies, the comparisons of network characteristics presented by Provan & Kenis (2018) and Gromley & Balla (2013) revealed that the structures of policy implementation in Surin, Yasothon and Ubon Ratchathani Provinces are of semi-high density, semi-participant-governed and low centrality, respectively. The findings also indicate that the continuity of provincial organic rice promotion, provincial policy implementation structure, marketing strength and the ability of farmers all affect the sustainability of organic rice cultivation and the expansion of organic rice cultivation area.
การศึกษาบทบาทภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐในการนำนโยบายเกษตรอินทรีย์ไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีการปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการของการส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์และบทบาทของภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐในการนำนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ไปปฎิบัติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2.เพื่อศึกษารูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ไปปฏิบัติของสามจังหวัด และ 3. เพื่อศึกษาความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นการศึกษาในเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งในภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับข้าวอินทรีย์ นอกจากนี้ ยังใช้การสังเกตและใช้ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือหลักในการจัดเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของข้าวอินทรีย์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา ระยะแรก คือ ยุคเริ่มต้นของข้าวอินทรีย์และเกษตรอินทรีย์โดยภาคประชาสังคมและภาคเอกชน (พ.ศ. 2528 – 2545) ระยะที่สอง คือ ช่วงเวลาที่ข้าวส่งอินทรีย์เติบโตโดยการสนับสนุนผ่านนโยบายระดับจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัดของบางจังหวัด เช่น จังหวัดสุรินทร์ และ ยโสธร ช่วงที่สาม  ได้แก่ ช่วงการเกิดยุทธศาสตร์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แห่งชาติฉบับแรก ถึงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2559) และช่วงที่สี่ คือ ช่วงหลังจากประกาศใช้ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560 ถึง ปัจจุบัน) ด้านบทบาทของภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐ พบว่า ภาคประชาสังคมและภาคเอกชนมีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมข้าวอินทรีย์แบบครบวงจร โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาครัฐของไทยยังคงสนับสนุนการทำการเกษตรโดยใช้สารเคมี แม้ว่าต่อมาภาครัฐจะกลับมาส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ แต่ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ยังคงมีความเชี่ยวชาญมากกว่าภาครัฐ ด้วยประสบการณ์และการใช้ตลาดนำการผลิต อย่างไรก็ตาม การนำนโยบายไปปฏิบัติของทั้ง 3 จังหวัด ประสบปัญหาและอุปสรรค เช่น ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ช่องทางการตลาด องค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาที่เกิดจากนโยบายและการทำงานของภาครัฐ และการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับภาครัฐ เป็นต้น รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมข้าวอินทรีย์ไปปฏิบัติพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะโครงสร้างเครือข่ายที่นำเสนอโดย Provan & Kenis (2018) และ Gromley & Balla (2013) พบว่า ในจังหวัดสุรินทร์ ยโสธร และอุบลราชธานี มีโครงสร้างการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นรูปแบบ Semi - High density, Semi-Participant-Governed และ Low Centrality ตามลำดับ ผลการศึกษายังพบอีกว่าความต่อเนื่องของการส่งเสริมข้าวอินทรีย์ในระดับจังหวัด โครงสร้างการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับจังหวัด ความเข้มแข็งและความสามารถด้านการตลาดของกลุ่มเกษตรกรมีผลต่อความยั่งยืนในการปลูกข้าวอินทรีย์และการขยายพื้นที่ข้าวอินทรีย์

Description:

Doctor of Public Administration (D.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รป.ด.)

Keyword(s):

การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ข้าวอินทรีย์
นโยบายสาธารณะ
policy implementation
organic rice
public policy

Type:

Dissertation
ดุษฎีนิพนธ์

Language:

en

Rights:

National Institute of Development Administration

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6056
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5720142009.pdf ( 2,419.67 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [192]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×