การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Files
Publisher
Issued Date
2021
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
497 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b214280
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ภัทรวดี รังสิมานพ (2021). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6078.
Title
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Alternative Title(s)
The effciency of Yoga destination development : a case study of Hua-Hin District, Prachuap Khiri Khan Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นในการศึกษาเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 5 ประการคือ 1) เพื่อทราบถึงคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโยคะ 2) เพื่อทราบถึงองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ด้านทรัพยากรหลักที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อทราบถึงองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ด้านองค์ประกอบสนับสนุนที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 4) เพื่อทราบถึงความพึงพอใจโดยรวมต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวโยคะ และ5) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวโยคะว่าเป็นอย่างไร โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) เป็นการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวโยคะที่เดินทางมายังอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยการใช้สถิติ T-Test และ One-way ANOVA ซึ่งเป็นการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างคุณลักษณะประชา และการใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาอิทธิพลว่าองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะใดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและความพึงพอใจโดยรวมที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ส่วนทางด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) เป็นการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวโยคะในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการสตูดิโอโยคะ และครูฝึกโยคะ จำนวน 20 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาคุณลักษณะประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโยคะ พบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมโยคะในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีอายุระหว่าง 41-49 ปี จัดอยู่ในกลุ่มวัยทำงานตอนกลางไปจนถึงตอนปลาย มีสถานภาพโสด โดยมีระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า35,000บาทขึ้นไปสำหรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวโยคะ พบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมโยคะในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและผ่อนคลาย มีระยะเวลาในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง2-3 วัน ซึ่งรูปแบบกิจกรรมโยคะที่ชื่นชอบส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเข้าร่วมโยคะ คือ อัษฎางค์โยคะ (Ashtanga Yoga) โดยมีประสบการณ์การฝึกโยคะอยู่ระหว่าง 3-4ครั้ง/สัปดาห์ ทั้งนี้มีประสบการณ์การฝึกโยคะที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง 1-5 ปี ในส่วนของสถานที่พักส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะเลือกที่พักประเภทโรงแรม โดยนักท่องเที่ยวมีวิธีการเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนตัว ที่มีผู้ร่วมเดินทางในการมาเข้าร่วมกิจกรรมโยคะเป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก สำหรับค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสำหรับที่พักอยู่ระหว่างต่ำกว่า 1,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสำหรับวิธีการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่าง 1,001 – 2,000 บาท ด้านค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสำหรับค่าบริการเข้าร่วมกิจกรรมโยคะต่ำกว่า 500 บาท และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสำหรับค่าอาหารและเครื่องดื่มต่ำกว่า 1,000 บาท
สำหรับผลการศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ด้านทรัพยากรหลักที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะด้านทรัพยากรหลักมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว โดยกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะ เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว รองลงมาคือ ความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของโยคะ การให้บริการนักท่องเที่ยวโยคะ สิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่ฝึกโยคะ ความพร้อมของสถานที่และอุปกรณ์ ความเชี่ยวชาญของครูฝึกโยคะ และชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตามลำดับ ในส่วนขององค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ด้านทรัพยากรสนับสนุนที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะด้านทรัพยากรสนับสนุนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว โดยที่พักอาศัย เป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางบวกสูงที่สุด รองลงมาคือ ความสะดวกในการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวโยคะ สิ่งอำนวยความสะดวก การส่งเสริมการท่องเที่ยวโยคะ และความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวโยคะ ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตามลำดับ นอกจากนี้ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงความพึงพอใจโดยรวม ที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวโยคะ
โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวโยคะอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะด้านทรัพยากรหลัก โดยแบ่งแยกออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) การพัฒนาด้านสถานที่ฝึกโยคะ 2) การพัฒนาและเสริมสร้างบุคลากรด้านการท่องเที่ยวโยคะ 3) การพัฒนาและส่งเสริมคุณลักษณะดั้งเดิมของโยคะ และองค์ประกอบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโยคะด้านทรัพยากรสนับสนุน
This thesis emphasis on study about the efficiency of yoga tourism development: a case study of Hua-Hin district, Prachuap Khiri Khan province which has objective are 1) To study yoga tourist’s demographic characteristics and travel behavior in Hua-Hin district, Prachuap Khiri Khan province. 2) To study core resources components of yoga destination development that influencing tourist satisfaction. 3) To study supporting resources components of yoga destination development that influencing tourist satisfaction. 4) To study tourist satisfaction that influencing revisit intention. 5) To explore guidelines for developing yoga tourism in Hua-Hin district, Prachuap Khiri Khan province. Mixed research methodology was used for this study. The quantitative data were collected, using questionnaires as a research tool from 400 yoga tourists from many countries around the world. The data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation and the inferential statistics which were t-test, One-way ANOVA, the correlation of Pearson bivariate correlation and multiple regression analysis with stepwise method to find factors that influence tourist satisfaction and revisit intention. In addition, the qualitative data were collected by semi-structure interview from 20 relevant yoga developing stakeholders which were public sectors, yoga entrepreneurs and yoga instructors, analyzed by content analysis. The results of yoga tourist’s demographic characteristics and travel behavior revealed that the majority yoga tourists were females, aged between 41-49 years old (middle working age). Most of tourists were single with graduated bachelor’s degree and worked as self-employed. The majority earn more than 35,000 baht/month. The study about yoga tourists’ behavior presented that the purpose of traveling for pleasure and relaxation. The duration of each traveling was between 2-3 days. The most favorite types of yoga of the tourists were ashtanga yoga with experience of practicing yoga between 3-4 times per week and had experience of practicing yoga in the past between 1-5 years. Most of them choose staying in hotel and also the tourists traveled by private car with friends or acquaintances to participate in yoga activities. The average expenditure for accommodation was between less than 1,000 baht, while the average expenditure for traveling was between 1,001 - 2,000 baht. The average expenditure for yoga activities was less than 500 baht per time and Average expenditure on food and beverages less than 1,000 baht. The results reveled that, firstly, core resources components of yoga destination development positively with tourist satisfaction which most influence factor was wellness activities, authentic yoga, service quality, attraction of yoga destination, availability of yoga equipment, expertise of yoga instructors, and reputation of yoga destination. The relationship was significantly related to tourist satisfaction. Secondly, supporting resources components of yoga destination development positively with tourist satisfaction which most influence factor was accommodations, accessibilities, facilities, promotion of yoga destination, and a variety of yoga destination. The relationship was significantly related to tourist satisfaction. Furthermore, the tourist satisfaction positively influences revisit intention. Finding of this study could be analyzed and transformed to be guidelines the efficiency of yoga tourism development. Composed of components of the development of yoga tourism destinations in the core resources which is divided into 3 aspects: 1) the development of yoga studio 2) the development and enhancement of yoga tourism personnel 3) the development and promotion of traditional characteristics of yoga and components of the development of yoga tourism destinations in terms of supporting resources.
This thesis emphasis on study about the efficiency of yoga tourism development: a case study of Hua-Hin district, Prachuap Khiri Khan province which has objective are 1) To study yoga tourist’s demographic characteristics and travel behavior in Hua-Hin district, Prachuap Khiri Khan province. 2) To study core resources components of yoga destination development that influencing tourist satisfaction. 3) To study supporting resources components of yoga destination development that influencing tourist satisfaction. 4) To study tourist satisfaction that influencing revisit intention. 5) To explore guidelines for developing yoga tourism in Hua-Hin district, Prachuap Khiri Khan province. Mixed research methodology was used for this study. The quantitative data were collected, using questionnaires as a research tool from 400 yoga tourists from many countries around the world. The data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation and the inferential statistics which were t-test, One-way ANOVA, the correlation of Pearson bivariate correlation and multiple regression analysis with stepwise method to find factors that influence tourist satisfaction and revisit intention. In addition, the qualitative data were collected by semi-structure interview from 20 relevant yoga developing stakeholders which were public sectors, yoga entrepreneurs and yoga instructors, analyzed by content analysis. The results of yoga tourist’s demographic characteristics and travel behavior revealed that the majority yoga tourists were females, aged between 41-49 years old (middle working age). Most of tourists were single with graduated bachelor’s degree and worked as self-employed. The majority earn more than 35,000 baht/month. The study about yoga tourists’ behavior presented that the purpose of traveling for pleasure and relaxation. The duration of each traveling was between 2-3 days. The most favorite types of yoga of the tourists were ashtanga yoga with experience of practicing yoga between 3-4 times per week and had experience of practicing yoga in the past between 1-5 years. Most of them choose staying in hotel and also the tourists traveled by private car with friends or acquaintances to participate in yoga activities. The average expenditure for accommodation was between less than 1,000 baht, while the average expenditure for traveling was between 1,001 - 2,000 baht. The average expenditure for yoga activities was less than 500 baht per time and Average expenditure on food and beverages less than 1,000 baht. The results reveled that, firstly, core resources components of yoga destination development positively with tourist satisfaction which most influence factor was wellness activities, authentic yoga, service quality, attraction of yoga destination, availability of yoga equipment, expertise of yoga instructors, and reputation of yoga destination. The relationship was significantly related to tourist satisfaction. Secondly, supporting resources components of yoga destination development positively with tourist satisfaction which most influence factor was accommodations, accessibilities, facilities, promotion of yoga destination, and a variety of yoga destination. The relationship was significantly related to tourist satisfaction. Furthermore, the tourist satisfaction positively influences revisit intention. Finding of this study could be analyzed and transformed to be guidelines the efficiency of yoga tourism development. Composed of components of the development of yoga tourism destinations in the core resources which is divided into 3 aspects: 1) the development of yoga studio 2) the development and enhancement of yoga tourism personnel 3) the development and promotion of traditional characteristics of yoga and components of the development of yoga tourism destinations in terms of supporting resources.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเทียวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564