• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

A Comparative Study of Legal Measure to Prevent Cyberbullying in Children

การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก

by Likkasith Suppakarn; ลิขสิทธิ์ ศุภการ; Thitat Chavisschindha; ธีทัต ชวิศจินดา; National Institute of Development Administration. The Graduate School of Law

Title:

A Comparative Study of Legal Measure to Prevent Cyberbullying in Children
การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก

Contributor(s):

National Institute of Development Administration. The Graduate School of Law

Advisor:

Thitat Chavisschindha
ธีทัต ชวิศจินดา

Issued date:

12/8/2022

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

Currently, Thailand does not have a definition of online bullying, nor measurement set up to prevent it among children.  In terms of policy and enforcement, there are no any direct agencies to take a response for such matter. As a result, Thailand is unable to effectively solve the situation. In this research, the author focus on the problem when children face a cyberbullying by studying the definition, law enforcement implementation, and power also duties of accountable agencies in domestic and aboard through a comparative study on both Thai and foreign laws. From the results of a comparative analysis from Japan and Canada. The first one has a specific law to prevent online bullying by defining the meaning once it commit including criteria to prevent it in educational institutions also the determination of roles and duties from concerned organizations. For the second one, “In the state of Manitoba”, studies have shown that definite laws have been enacted on this issue likewise. The setting of definition and stipulates preventive measures against recidivism to obviated possible mental damage by liable it to the Court of Justice. From the study to analyze problem of cyberbullying in children. Author has an opinion that determination in both Japan and Canada have established measures to proactively prevent it. By the way, they have a different set up as the problems and cases that arise have particular characteristics according to the social conditions in each country. Therefore, this research suggests that Thailand should adopt these foreign countries solution with appropriate specific laws. By the provisions, there must have a definition of online bullying, establishing measures to prevent, and setting a specific authorized agencies to oversee and solve it effectively.
ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดคำนิยามในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์และไม่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันการกระทำความผิดที่เป็นการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก ทั้งในเชิงนโยบายและมาตรการบังคับ อีกทั้งยังไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยตรง ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยนี้ ผู้เขียนนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก (Cyber Bullying) โดยทำการศึกษาในเรื่องคำนิยามของการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ การกำหนดมาตรการป้องกันทางกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบของไทยและต่างประเทศโดยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ จากผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศแคนาดา พบว่าประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ โดยมีการให้คำนิยามของการกระทำความผิด รวมถึงมีการกำหนดมาตรการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกในสถานศึกษาและการกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่กับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการควบคุมปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์เป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อเป็นกำหนดมาตรการป้องกันการกลั่นแกล้งออนไลน์ในเด็กที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา และในประเทศแคนาดา รัฐ Manitoba จากการศึกษาพบว่าได้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ มีการกำหนดคำนิยามของการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก และกำหนดมาตรการลงโทษในเชิงป้องกันการกระทำความผิดซ้ำเพื่อป้องกันความเสียหายต่อจิตใจที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดให้ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ที่เกิดขึ้นในเด็ก ผู้ศึกษามีความเห็นว่ามาตรการของประเทศญี่ปุ่น และประเทศแคนาดา มีการกำหนดมาตรการในเชิงป้องกันปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก โดยมีมาตรการที่แตกต่างกันเนื่องจากสภาพปัญหาและคดีที่เกิดขึ้นมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันตามสภาพสังคมในแต่ละประเทศ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเสนอให้ประเทศไทยสมควรที่จะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ของต่างประเทศมาปรับใช้ โดยสมควรกำหนดให้มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็ก โดยบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดคำนิยามของการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ การกำหนดมาตรการป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ รวมถึงกำหนดอำนาจหน้าที่เฉพาะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ในเด็กเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์

Description:

Master of Laws (LL.M.)
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)

Keyword(s):

การกลั่นแกล้งทางออนไลน์
การกลั่นแกล้งรังแก
การกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์, การกลั่นแกล้งรังแก, ความคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Cyber Bullying
Bullying

Type:

Thesis
วิทยานิพนธ์

Language:

th

Rights:

National Institute of Development Administration

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6090
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5911911008.pdf ( 1,407.20 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [191]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×