• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

ปัญหาของผู้สูงอายุกับการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตเมือง: ศึกษากรณี 2 ชุมชน ในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

by กรจงรักษ์ ชาตรูปฏิวิน

ชื่อเรื่อง:

ปัญหาของผู้สูงอายุกับการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตเมือง: ศึกษากรณี 2 ชุมชน ในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Problems of elderly persons and community welfare management : case studies of two communities in Wangthonglang District, Bangkok

ผู้แต่ง:

กรจงรักษ์ ชาตรูปฏิวิน

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

สากล จริยวิทยานนท์

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การบริหารการพัฒนาสังคม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2561

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2018.92

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำรงชีพ/การใช้ชีวิตประจำวันของ ผู้สูงอายุในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 2) ศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 3) ค้นหาข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา
วิธีการศึกษาเป็นแบบผสมผสาน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาพรวมของคนในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนาเพื่อศึกษา ข้อมูลพื้นฐานโดยรวมและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาร้อยละและค่าเฉลี่ย ส่วนที่ 2 เป็นการ ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานชุมชน การจัด สวัสดิการในชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ และการดำรงชีพของโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 26 ประกอบด้วย ประธานชุมชน ประธานชมรมผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในชุมชนโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้สูงอายุติดเตียง
ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้สูงอายุทั้ง 2 ชุมชนส่วนใหญ่มีอายุช่วงระหว่าง 60-69 ปีจบการศึกษาสูงสุดในระดับชั้นประถมศึกษา ไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ มีเพียง รายได้จากสวัสดิการเบี้ยยังชีพของรัฐบาลเป็นหลักและในบางรายได้รับจากลูกหลาน รายได้ทั้งหมด ต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ปัญหา ด้านสุขภาพพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน ตามลำดับ ดังนั้นผู้สูงอายุต้องเดินทางไปพบแพทย์ทุกเดือนโดยมีญาติ/ลูกหลานพาไป ในบางรายต้อง
เดินทางไปเอง แต่หากผู้สูงอายุติดปัญหาเรื่องการเดินทางกล่าวคือลูกหลานไม่ว่างพาไปหรือไม่สะดวก เดินทางไปเอง ผู้สูงอายุจะเลือกไม่ไปพบแพทย์ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่เข้าร่วม กิจกรรมชุมชนมีเพียงบางกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้เป็นหลัก
ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่มีการเตรียมตัวที่ดีก่อนวัยเกษียณอายุมี ปัญหาในการดำรงชีพน้อยกว่าและมีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวก่อนวัย เกษียณอายุ 2) ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลจากสวัสดิการของรัฐบาลและครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว แต่สวัสดิการที่ผู้สูงอายุได้รับจากทั้งรัฐบาลและครอบครัวไม่เพียงพอ ทางชุมชนจึงมีการรวมกลุ่มชมรม ผู้สูงอายุเพื่อเข้ามาเติมเต็มในส่วนที่บกพร่อง 3) การสนับสนุนของกลุ่มภาคีเครือข่ายมีผลต่อ ความสำเร็จในการจัดสวัสดิการชุมชนและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืนด้วยความเข้าใจ 4) ผู้สูงอายุติดบ้านในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนามีจำนวนมากและเป็นผู้ที่ไม่เข้าร่วม กิจกรรมชุมชน การดึงผู้สูงอายุจากติดบ้านให้ออกมาร่วมกิจกรรมช่วยให้ผู้สูงอายุติดบ้านได้รับ สวัสดิการอย่างทั่วถึงและยังสามารถเพิ่มศักยภาพของกลุ่ม
ข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการชุมชน 1) ชมรมผู้สูงอายุต้องสนับสนุนรายได้และดึงผู้สูงอายุ ติดบ้านออกมาร่วมกิจกรรม 2) ครอบครัวต้องให้การสนับสนุนปัจจัย 4 และให้ผู้สูงอายุออกมาร่วม กิจกรรม 3) ตัวผู้สูงอายุควรตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง 4) หน่วยงานภาคีภายนอกต้อง ประสาน สนับสนุนงบประมาณเพื่อทำกิจกรรม ติดตามประเมินผลเพื่อทราบปัญหาและแก้ไขให้ตรง จุด

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ผู้สูงอายุ

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

211 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6106
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b203183.pdf ( 1.12 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×