Show simple item record

dc.contributor.advisorสากล จริยวิทยานนท์th
dc.contributor.authorกรจงรักษ์ ชาตรูปฏิวินth
dc.date.accessioned2022-12-09T09:02:00Z
dc.date.available2022-12-09T09:02:00Z
dc.date.issued2018th
dc.identifierb203183th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6106
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำรงชีพ/การใช้ชีวิตประจำวันของ ผู้สูงอายุในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 2) ศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนา 3) ค้นหาข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน คลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนาth
dc.description.abstractวิธีการศึกษาเป็นแบบผสมผสาน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาพรวมของคนในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนาเพื่อศึกษา ข้อมูลพื้นฐานโดยรวมและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาร้อยละและค่าเฉลี่ย ส่วนที่ 2 เป็นการ ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานชุมชน การจัด สวัสดิการในชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ และการดำรงชีพของโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 26 ประกอบด้วย ประธานชุมชน ประธานชมรมผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในชุมชนโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้สูงอายุติดเตียงth
dc.description.abstractผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้สูงอายุทั้ง 2 ชุมชนส่วนใหญ่มีอายุช่วงระหว่าง 60-69 ปีจบการศึกษาสูงสุดในระดับชั้นประถมศึกษา ไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ มีเพียง รายได้จากสวัสดิการเบี้ยยังชีพของรัฐบาลเป็นหลักและในบางรายได้รับจากลูกหลาน รายได้ทั้งหมด ต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ปัญหา ด้านสุขภาพพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน ตามลำดับ ดังนั้นผู้สูงอายุต้องเดินทางไปพบแพทย์ทุกเดือนโดยมีญาติ/ลูกหลานพาไป ในบางรายต้องth
dc.description.abstractเดินทางไปเอง แต่หากผู้สูงอายุติดปัญหาเรื่องการเดินทางกล่าวคือลูกหลานไม่ว่างพาไปหรือไม่สะดวก เดินทางไปเอง ผู้สูงอายุจะเลือกไม่ไปพบแพทย์ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่เข้าร่วม กิจกรรมชุมชนมีเพียงบางกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้เป็นหลักth
dc.description.abstractผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่มีการเตรียมตัวที่ดีก่อนวัยเกษียณอายุมี ปัญหาในการดำรงชีพน้อยกว่าและมีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวก่อนวัย เกษียณอายุ 2) ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลจากสวัสดิการของรัฐบาลและครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว แต่สวัสดิการที่ผู้สูงอายุได้รับจากทั้งรัฐบาลและครอบครัวไม่เพียงพอ ทางชุมชนจึงมีการรวมกลุ่มชมรม ผู้สูงอายุเพื่อเข้ามาเติมเต็มในส่วนที่บกพร่อง 3) การสนับสนุนของกลุ่มภาคีเครือข่ายมีผลต่อ ความสำเร็จในการจัดสวัสดิการชุมชนและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืนด้วยความเข้าใจ 4) ผู้สูงอายุติดบ้านในชุมชนคลองพลับพลาและชุมชนรุ่งมณีพัฒนามีจำนวนมากและเป็นผู้ที่ไม่เข้าร่วม กิจกรรมชุมชน การดึงผู้สูงอายุจากติดบ้านให้ออกมาร่วมกิจกรรมช่วยให้ผู้สูงอายุติดบ้านได้รับ สวัสดิการอย่างทั่วถึงและยังสามารถเพิ่มศักยภาพของกลุ่มth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะในการจัดสวัสดิการชุมชน 1) ชมรมผู้สูงอายุต้องสนับสนุนรายได้และดึงผู้สูงอายุ ติดบ้านออกมาร่วมกิจกรรม 2) ครอบครัวต้องให้การสนับสนุนปัจจัย 4 และให้ผู้สูงอายุออกมาร่วม กิจกรรม 3) ตัวผู้สูงอายุควรตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง 4) หน่วยงานภาคีภายนอกต้อง ประสาน สนับสนุนงบประมาณเพื่อทำกิจกรรม ติดตามประเมินผลเพื่อทราบปัญหาและแก้ไขให้ตรง จุดth
dc.description.provenanceSubmitted by Chitjai Singhapong (chitjai.s@nida.ac.th) on 2022-12-09T09:02:00Z No. of bitstreams: 1 b203183.pdf: 11292196 bytes, checksum: 3e6c1349f305368ed34263cc9983b45b (MD5)th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2022-12-09T09:02:00Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b203183.pdf: 11292196 bytes, checksum: 3e6c1349f305368ed34263cc9983b45b (MD5) Previous issue date: 2018th
dc.format.extent211 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผู้สูงอายุth
dc.titleปัญหาของผู้สูงอายุกับการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตเมือง: ศึกษากรณี 2 ชุมชน ในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeProblems of elderly persons and community welfare management : case studies of two communities in Wangthonglang District, Bangkokth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2018.92


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record