Show simple item record

dc.contributor.authorธีระพงษ์ วงษ์นาth
dc.date.accessioned2022-12-19T08:55:57Z
dc.date.available2022-12-19T08:55:57Z
dc.date.issued2017th
dc.identifierb203184th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6107th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ชาวบ้านและพลวัตของการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน บนพื้นฐานทุนทางสังคมในชุมชน คลองทะเล 2) เพื่อศึกษาลักษณะของทุนทางสังคมที่ชุมชนน ามาใช้ขับเคลื่อนการปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติ 3) เพื่อศึกษาผลของการน าทุนทางสังคมมาใช้ขับเคลื่อนในกระบวนการปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน การด าเนินการวิจัยเป็นไปตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวม ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่ส าคัญ 15 ราย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการท าความเข้าใจกับความหมาย การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์หาความเชื่อมโยง การสังเคราะห์และการตีความเพื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องและบริบทของพื้นที่ศึกษาth
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านในชุมชนคลองทะเลมีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นกระบวนการและ มีพลวัตในการพยายามปกป้องทรัพยากรธรรมชาติจากการบุกรุกของกลุ่มทุนและส่งผลกระทบต่อวิถี การดำรงชีวิตของคนในชุมชน โดยอาศัยทุนทางสังคมเป็นฐานในการขับเคลื่อน ทุนทางสังคมของ ชุมชนคลองทะเลมี 2 ประเภท คือ 1) ทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิมภายในชุมชน เป็นความสัมพันธ์ที่ยึดโยง ด้วยระบบคิดตามความเชื่อในหลักศาสนาอิสลามและความเป็นเครือญาติ ซึ่งส่งผลให้คนในชุมชนมี การผูกโยงเป็นเครือข่ายผ่านกิจกรรมทางศาสนาและทางสังคม โดยมีการผลิตซ้ำค่านิยม บรรทัดฐาน ทางสังคม และความเป็นกลุ่มก้อนของคนในชุมชน 2) ทุนทางสังคมที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับ ภายนอกชุมชน ซึ่งเกิดขึ้นผ่านการสนับสนุน/ช่วยเหลือของกลุ่มและองค์การภายนอก กลุ่มและ องค์การเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดและเรียนรู้ แล้วพัฒนาต่อ นำไปสู่การปฏิบัติ ที่ปรากฏในรูปของปฏิบัติการภาคประชาสังคมที่ถูกใช้เป็นกลไกในการเคลื่อนไหวth
dc.description.abstractเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่เชื่อมโยงกับการดำรงชีพของคนในชุมชน ด้วยการต่อรองกับกลุ่มทุน ที่บุกรุกมาใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วนที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนในนามของ การพัฒนา แต่เป็นรูปแบบที่ไม่พึงปรารถนาของสมาชิกชุมชน ผลของการเคลื่อนไหวบนฐานของทุน ทางสังคมนี้ช่วยเพิ่มศักยภาพของชาวบ้านในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ อันนำไปสู่การรักษาสิทธิ ของชุมชนและสร้างความเป็นธรรมทางสังคมแก่สมาชิกชุมชน แม้จะมีผลลัพธ์ในลักษณะที่ย้อนแย้ง ทางสังคมบ้างซึ่งสะท้อนผ่านการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของคนในท้องถิ่นด้วยก็ตามth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ ชุมชนท้องถิ่นแต่ละชุมชนควรมีการจัดการความรู้เกี่ยวกับ ทุนทางสังคมและการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กับการประสานสร้างความร่วมมือและ แสวงหาข้อตกลงระหว่างกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ในขณะที่บทบาทของรัฐควรเน้นการ สร้างความไว้วางใจกับคนในท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ของประชาชน และต้องให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของคนในท้องถิ่นอย่างถูกต้อง เพื่อให้โครงการ พัฒนาต่าง ๆ เป็นไปด้วยความชอบธรรม และไม่เกิดความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ตามมาจนไม่ สามารถจัดการได้th
dc.description.provenanceSubmitted by Chitjai Singhapong (chitjai.s@nida.ac.th) on 2022-12-19T08:55:57Z No. of bitstreams: 1 b203184.pdf: 2105104 bytes, checksum: 1d687e6d756ed8874a4c1db03cb508d2 (MD5)th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2022-12-19T08:55:57Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b203184.pdf: 2105104 bytes, checksum: 1d687e6d756ed8874a4c1db03cb508d2 (MD5) Previous issue date: 2017th
dc.format.extent177 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectทรัพยากรธรรมชาติth
dc.subject.otherทุนทางสังคมth
dc.titleพลวัตการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานทุนทางสังคมในชุมชนคลองทะเล จังหวัดพังงาth
dc.title.alternativeThe dynamics of natural resource protection based on social capital in Klongtalay community, Phang-Nga provinceth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.80


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record