• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • GSHRD: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ และการตระหนักถึงผลในอนาคตของบุคคล กับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมของพนักงานบริษัทประกันภัย

by ยศธนา ชูศรี

Title:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ และการตระหนักถึงผลในอนาคตของบุคคล กับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมของพนักงานบริษัทประกันภัย

Other title(s):

Organzational human resource administration and individual consideration of future consequences, as correlates of employees' moral work behaviors in insurance companies

Author(s):

ยศธนา ชูศรี

Advisor:

บังอร โสฬส

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

Degree department:

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2015.101

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากร มนุษย์ การตระหนักถึงผลในอนาคตของบุคคล และพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมของ พนักงานบริษัทประกันภัย โดยใช้แบบสอบถาม ( Quesionnaire) 4 ฉบับคือ 1) แบบสอบถาม การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรม 3) แบบสอบถาม การตระหนักถึงผลในอนาคตของบุคคล และ 4)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานบริษัทประกันภัย 8 บริษัท ได้รับความร่วมมือตอบ แบบสอบถามจำนวน 363 คน คิดเป็นร้อยละ 69 ของจำนวนผู้รับแบบสอบถามไปทั้งหมด 523 คน แบบสอบถามฉบับที่ 1 ถึง 3 มีค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) เท่ากับ .982 .913 และ .725 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficients) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มทีละตัวแปร (Muliple Rcgression Analysis: Stepwise) เพื่อหาอำนาจในการพยากรณ์ของตัวทำนาย พบว่า 1) พนักงานบริษัทประกันภัยที่มีการรับรู้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การทั้งโดยรวม และ รายด้านในระดับที่สูง เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมโดยรวมสูงด้วย 2) พนักงาน ที่ตระหนักถึงผลในอนาคตของบุคคลทั้งโดยรวม และรายด้านในระดับที่สูง มีพฤติกรรมการ ทำงานอย่างมีจริยธรรมมากตามไปด้วย ผล 2 ประการ ที่พบนี้ทำให้บ่งชี้ว่า การที่พนักงานรับรู้ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การเพิ่มขึ้น และ/หรือมีการตระหนักถึงผลในอนาคต เพิ่มขึ้น พนักงานจะมีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การศึกษา ครั้งนี้พบด้วยว่า 3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการตระหนักถึงผลในอนาคตของบุคคล สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมได้ร้อยละ 27.6

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

พฤติกรรมการทำงาน
ทรัพยากรมนุษย์ -- การบริหาร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Keyword(s):

พนักงานบริษัทประกันภัย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

78 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6113
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b191174.pdf ( 1,053.33 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSHRD: Theses [150]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×