วิเคราะห์หลักกฎหมาย ข้อยกเว้นการอ้างการกระทำด้วยความจำเป็น เปรียบเทียบกฎหมายไทย เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา
by อาลีนา วงค์นุ้ย
ชื่อเรื่อง: | วิเคราะห์หลักกฎหมาย ข้อยกเว้นการอ้างการกระทำด้วยความจำเป็น เปรียบเทียบกฎหมายไทย เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparative analysis of legal doctrine on necessity defense exclusion among Thai, German and US laws |
ผู้แต่ง: | อาลีนา วงค์นุ้ย |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | วริยา ล้ำเลิศ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2017.82 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างกฎหมายอาญาในระบบ กฎหมาย Common Law และ Civil Law ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักความจำเป็นและ ข้อยกเว้นของการอ้างกระทำด้วยความจำเป็น เปรียบเทียบระหว่างประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Civil Law ได้แก่ ประเทศไทย และประเทศเยอรมัน เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะที่ได้มาจากการเปรียบเทียบ หลักความจำเป็นระหว่างกฎหมายอาญาประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมัน จากกการศึกษาพบว่า ข้อยกเว้นการอ้างการกระทำด้วยความจำเป็นตามหลักมาตรา 67 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาไทย ได้แก่ ภยันตรายที่เกิดขึ้นจะต้องไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้กระทำหรือ การกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งมีความแตกต่างกับประเทศเยอรมันในประเด็นของผู้มี หน้าที่ตามกฎหมายเป็นพิเศษ กล่าวคือ ประเทศเยอรมันมีข้อยกเว้นห้ามผู้มีหน้าที่สัมพันธ์ทาง กฎหมายเป็นพิเศษ อ้างความจำเป็นเพื่อยกเว้นโทษในการกระทำที่ตนมีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น หากมีกรณีเกิดขึ้นในประเทศไทยที่ผู้มีหน้าที่ละทิ้งหน้าที่เพื่อต้องการเอาตัวรอดในสถานการณ์ ที่เป็นไปตามหลักการกระทำด้วยความจำเป็น เช่น กัปตันเรือหนีออกจากเรือที่กำลังล่มโดยละทิ้ง ไม่ช่วยเหลือผู้โดยสาร กรณีดังกล่าวกัปตันย่อมอ้างการกระทำด้วยความจำเป็นเพื่อยกเว้นโทษได้ ซึ่งผลทางกฎหมายแตกต่างจากเยอรมัน ที่กับตันไม่สามารถอ้างความจำเป็นเพื่อให้ตนได้รับ การยกเว้นโทษได้ จากข้อค้นพบดังกล่าว การวางหลักข้อยกเว้นการกระทำด้วยความจำเป็นตามกฎหมายอาญา ประเทศเยอรมัน มาตรา 35 มีการก าหนดข้อยกเว้นการอ้างการกระทำด้วยความจำเป็นในส่วนของ ผู้ที่มีหน้าที่สัมพันธ์ทางกฎหมายเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นการวางหลักที่รัดกุมกว่าประเทศไทยและประเทศ สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยจึงได้มีการเสนอแนวทางว่า ประเทศไทยควรเพิ่มข้อยกเว้นการอ้างการกระทำด้วยความจำเป็น ในประเด็นของผู้มีหน้าที่สัมพันธ์ทางกฎหมายเป็นพิเศษที่จะต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ ในสถานการณ์นั้น ๆ ไม่อาจอ้างการกระทำด้วยความจำเป็นดังเช่นประเทศเยอรมัน |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | กฎหมายอาญาเปรียบเทียบ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 101 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6124 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|