• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี: ศึกษากรณีการค้ามนุษย์ในกิจการประมง

by พรรณนิภา สวยลึก

Title:

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี: ศึกษากรณีการค้ามนุษย์ในกิจการประมง

Other title(s):

Non-tariff barrier: a case study of human trafficking in fishing industry

Author(s):

พรรณนิภา สวยลึก

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายและการจัดการ)

Degree level:

Master's

Degree discipline:

กฎหมายและการจัดการ

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกีดกัน ทางการค้าที่มิใช่ภาษีกรณีการค้ามนุษย์ในกิจการประมง นอกจากนี้ยังศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและ มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าของไทยและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์หา แนวทางแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าโดยอาศัยการค้ามนุษย์ที่มีผลกระทบต่อ ธุรกิจภาคประมงให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มกำลังพัฒนาซึ่งต้องการขยายตัวทางเศรษฐกิจและด้วยสภาพภูมิ ประเทศที่ตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเล จึงทำให้ภาคอุตสาหกรรมประมงทะเลของไทยเติบโตได้อย่าง รวดเร็ว และส่งผลให้ประเทศไทยยังคงขาดแคลนแรงงานในภาคประมงทะเลมาโดยตลอด ทั้งนี้ แรงงานในเรือประมงทะเลต้องเจอกับสภาพการทำงานที่ยากลำบาก เสี่ยงอันตราย และต้องอยู่กลาง ทะเลเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลให้ไม่มีแรงงานอยากทำงานในเรือประมงทะเล ผลที่ตามมาจึงทำ ให้เกิดขบวนการนายหน้าค้าแรงงานประมง ซึ่งมีการลักลอบนำแรงงานต่างชาติเข้ามามากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานตามมา จากการศึกษาพบว่าหากเวทีเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศมีการหยิบยกประเด็นเรื่อง มาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวโยงกับการค้ามนุษย์ขึ้นมาใช้เป็นเงื่อนไงในการค้าแล้วประเทศไทยจะได้รับ ผลกระทบมากน้อยเพียงใด หากมองถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่จะได้รับ เป็นไปได้ว่า นำนาประเทศอาจใช้ประเด็นนี้เพื่อเป็นการกีดกันทางการค้าในการชะลอการนำเข้าสินค้าในธุรกิจภาค ประมงจากไทยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก และยังเป็นการทำลาย ภาพพจน์ของไทยในเวทีโลก อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ให้การป้องกันหรือให้ความคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยยังขาดการบูรณาการในแง่ของอำนาจการบังคับใช้กฎหมายเพื่อ ดำเนินการทั้งต่อผู้ค้ามนุษย์รายใหญ่ และรายย่อยจึงอาจกล่าวได้ว่าการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากปัญหาดังกล่าวผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา โดยสร้างกลไกการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยจัดให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถทำการเข้าตรวจเรือได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเวลา กลางคืน โดยไม่ต้องให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นจะต้องดำรงตำแหน่งนายอำเภอหรือรองผู้กำกับ การตำรวจขึ้นไป หรือเป็นข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับเจ็ดขึ้นไปจะต้องเข้าร่วมตรวจค้นในเวลา กลางคืนด้วยเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าตรวจสอบเมื่อมีเหตุอันเป็นที่น่าสงสัย และบังคับใช้ กฎหมายต่อนายจ้างที่ละเมิดสิทธิแรงงานในที่ทำงานอย่างจริงจัง นอกจากนั้นแล้วควรจัดให้มี มาตรฐานการคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการจ้างงาน สภาพการทำงาน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ ต่างๆ ที่แรงงานพึงจะได้รับตลอดจนการได้รับการคุ้มครองในการดำเนินชีวิตอยู่บนเรือในระหว่างการ ทำงาน ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพแรงงานภาคประมงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อเป็นแรงงานจูงใจให้ แรงงานเต็มใจที่จะเข้ามาทำงานมากขึ้น ส่งผลให้ไม่เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการก็ไม่ จำเป็นต้องจัดหาแรงงานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ในแรงงานภาค ประมงในที่สุด

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศ.ศ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

86 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6126
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b198271.pdf ( 1,242.73 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×