Show simple item record

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศ
dc.contributor.authorพรรณนิภา สวยลึก
dc.date.accessioned2023-01-09T02:54:59Z
dc.date.available2023-01-09T02:54:59Z
dc.identifier.otherb198271th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6126
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ศ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกีดกัน ทางการค้าที่มิใช่ภาษีกรณีการค้ามนุษย์ในกิจการประมง นอกจากนี้ยังศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและ มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าของไทยและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์หา แนวทางแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าโดยอาศัยการค้ามนุษย์ที่มีผลกระทบต่อ ธุรกิจภาคประมงให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มกำลังพัฒนาซึ่งต้องการขยายตัวทางเศรษฐกิจและด้วยสภาพภูมิ ประเทศที่ตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเล จึงทำให้ภาคอุตสาหกรรมประมงทะเลของไทยเติบโตได้อย่าง รวดเร็ว และส่งผลให้ประเทศไทยยังคงขาดแคลนแรงงานในภาคประมงทะเลมาโดยตลอด ทั้งนี้ แรงงานในเรือประมงทะเลต้องเจอกับสภาพการทำงานที่ยากลำบาก เสี่ยงอันตราย และต้องอยู่กลาง ทะเลเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลให้ไม่มีแรงงานอยากทำงานในเรือประมงทะเล ผลที่ตามมาจึงทำ ให้เกิดขบวนการนายหน้าค้าแรงงานประมง ซึ่งมีการลักลอบนำแรงงานต่างชาติเข้ามามากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานตามมา จากการศึกษาพบว่าหากเวทีเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศมีการหยิบยกประเด็นเรื่อง มาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวโยงกับการค้ามนุษย์ขึ้นมาใช้เป็นเงื่อนไงในการค้าแล้วประเทศไทยจะได้รับ ผลกระทบมากน้อยเพียงใด หากมองถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่จะได้รับ เป็นไปได้ว่า นำนาประเทศอาจใช้ประเด็นนี้เพื่อเป็นการกีดกันทางการค้าในการชะลอการนำเข้าสินค้าในธุรกิจภาค ประมงจากไทยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก และยังเป็นการทำลาย ภาพพจน์ของไทยในเวทีโลก อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ให้การป้องกันหรือให้ความคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยยังขาดการบูรณาการในแง่ของอำนาจการบังคับใช้กฎหมายเพื่อ ดำเนินการทั้งต่อผู้ค้ามนุษย์รายใหญ่ และรายย่อยจึงอาจกล่าวได้ว่าการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากปัญหาดังกล่าวผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา โดยสร้างกลไกการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยจัดให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถทำการเข้าตรวจเรือได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเวลา กลางคืน โดยไม่ต้องให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นจะต้องดำรงตำแหน่งนายอำเภอหรือรองผู้กำกับ การตำรวจขึ้นไป หรือเป็นข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับเจ็ดขึ้นไปจะต้องเข้าร่วมตรวจค้นในเวลา กลางคืนด้วยเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าตรวจสอบเมื่อมีเหตุอันเป็นที่น่าสงสัย และบังคับใช้ กฎหมายต่อนายจ้างที่ละเมิดสิทธิแรงงานในที่ทำงานอย่างจริงจัง นอกจากนั้นแล้วควรจัดให้มี มาตรฐานการคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการจ้างงาน สภาพการทำงาน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ ต่างๆ ที่แรงงานพึงจะได้รับตลอดจนการได้รับการคุ้มครองในการดำเนินชีวิตอยู่บนเรือในระหว่างการ ทำงาน ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพแรงงานภาคประมงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อเป็นแรงงานจูงใจให้ แรงงานเต็มใจที่จะเข้ามาทำงานมากขึ้น ส่งผลให้ไม่เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการก็ไม่ จำเป็นต้องจัดหาแรงงานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ในแรงงานภาค ประมงในที่สุดth
dc.description.provenanceSubmitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2023-01-09T02:54:59Z No. of bitstreams: 1 b198271.pdf: 1272554 bytes, checksum: 993652cd563a1ebae45db29b96647ec9 (MD5)en
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-09T02:54:59Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b198271.pdf: 1272554 bytes, checksum: 993652cd563a1ebae45db29b96647ec9 (MD5)en
dc.format.extent86 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีth
dc.titleมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี: ศึกษากรณีการค้ามนุษย์ในกิจการประมงth
dc.title.alternativeNon-tariff barrier: a case study of human trafficking in fishing industryth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายและการจัดการ)th
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineกฎหมายและการจัดการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record