Show simple item record

dc.contributor.advisorปุ่น วิชชุไตรภพ
dc.contributor.authorชนากานต์ ธีระชัยมหิทธิ์
dc.date.accessioned2023-01-11T02:47:04Z
dc.date.available2023-01-11T02:47:04Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.otherb198273th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6130
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาการระงับข้อพิพาทในคดีที่ราชพัสดุ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์และที่ราชพัสดุ ข้อความคิด เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทในคดีที่ดิน ทฤษฎีและหลักการพื้นฐานเกี่ยวการจัดตั้งองค์กรศาลหรือตุลาการ อำนาจศาลปกครองและศาลยุติธรรม ตลอดจนระบบกฎหมายและนิติวิธีทางกฎหมาย รวมถึง การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองและการขัดกันของอำนาจศาล ตลอดจนการแก้ไขการขัดกันของอำนาจศาลในระบบศาลคู่ จากการศึกษาพบว่า ที่ราชพัสดุเป็นที่ดินของรัฐที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะ สามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 และกฎกระทรวงฉบับต่างๆ ถึงการคุ้มครอง ดูแล รักษาใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุ ให้กระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์ เป็นผู้มีอ านาจดำเนินการ ดังกล่าวแทนรัฐ ซึ่งผลจากการใช้อำนาจเกี่ยวกับที่ราชพัสดุเช่นนี้ มีลักษณะเป็นการกระทำทาง ปกครอง จึงเป็นข้อพิพาททางปกครอง อย่างไรก็ตาม พบว่ามีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการระงับข้อ พิพาทในคดีที่ราชพัสดุที่ยังคงเกิดขึ้นตลอดมานับตั้งแต่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ซึ่งเป็นระบบศาลคู่ จนถึงปัจจุบันและยังไม่มีการแก้ไข ได้แก่ ปัญหาสถานะทางกฎหมายของคดีที่ราชพัสดุว่าเป็นคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของสัญญาเช่าที่ราชพัสดุว่าเป็นสัญญาทางแพ่ง หรือสัญญาทางปกครอง และปัญหาเกี่ยวกับการโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีที่ฟ้องเกี่ยวกับการ ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุที่เกิดการขัดกันของเขตอำนาจศาล เนื่องจากพบว่ายังไม่มีการกำหนดเป็น กฎเกณฑ์ทางกฎหมายเพื่อให้คดีที่ราชพัสดุ เป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองให้ชัดเจน และ ยังไม่มีกฎเกณฑ์ทางกฎหมายกำหนดให้สัญญาเช่าที่ราชพัสดุ ให้เป็นสัญญาทางปกครองประเภทหนึ่ง รวมถึงมาตรการทางกฎหมายที่ใช้แก้ปัญหาการขัดกันของอำนาจศาล พบว่ายังไม่มีกฎเกณฑ์ทาง กฎหมายที่สามารถทำให้คดีที่มีลักษณะเป็นข้อพิพาททางปกครองอยู่ในอำนาจศาลปกครองได้อย่าง ถูกต้องแท้จริง ดังนี้ ผู้เขียนจึงเห็นควรให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 โดยกำหนดให้คดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุเป็นคดีที่อยู่ในอนำาจศาลปกครอง และแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยาม ของสัญญาทางปกครองในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ให้ครอบคลุมถึงสัญญากรณีอื่นๆ รวมถึงเห็นควรให้มีแก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติวินิจฉัยชี้ขาด อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 โดยให้มีมาตรการทางกฎหมายที่สามารถทำให้คดีที่มีการขัดกันระหว่างศาลแล้ว ให้ข้อพิพาททางปกครองนั้นยังคงอยู่ในเขตอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น อย่างแท้จริงth
dc.description.provenanceSubmitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2023-01-11T02:47:04Z No. of bitstreams: 1 b198273.pdf: 1662185 bytes, checksum: a3178680bf5710d0cac6216412ed02ad (MD5)en
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-11T02:47:04Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b198273.pdf: 1662185 bytes, checksum: a3178680bf5710d0cac6216412ed02ad (MD5) Previous issue date: 2017en
dc.format.extent141 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการระงับข้อพิพาท (กฎหมาย) -- ไทยth
dc.titleปัญหาการระงับข้อพิพาทในคดีที่ราชพัสดุth
dc.title.alternativeThe issue of the disputation in state property’s caseth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.87


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record