ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
116 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b198274
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุริศา นิยมรัตน์ (2017). ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6131.
Title
ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ
Alternative Title(s)
Criminal offenses: the case of sexual harassment
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของสังคมไทยในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นความผิด เกี่ยวกับเพศที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดในสังคม ทั้งยังเพิ่มจํานวนและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความ เข้าใจที่คนทั่วไปในสังคมมีต่อการคุกคามทางเพศยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดบ้างที่สามารถ เรียกได้ว่าเป็นการคุกคามทางเพศ ตลอดจนการที่กฎหมายปัจจุบันที่ยังไม่ตอบสนองต่อการป้องกันและ ปราบปรามการคุกคามทางเพศ ปัญหานี้จึงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควร ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย รูปแบบ ลักษณะของพฤติกรรมในการคุกคามทางเพศ รวมทั้ง ผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทําดังกล่าว และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาของ กฎหมายความผิดเกี่ยวกับการคุกคาม มาตรา 397 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2558 และนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และต่างประเทศเพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของการเสนอแนวทางการออกกฎหมายการคุกคามทางเพศ มาบัญญัติไว้ในความผิดฐานคุกคามทางเพศ ในภาค 2 ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศแห่ง ประมวลกฎหมายอาญา จากการศึกษาพบว่า หลักการทางกฎหมายในการคุกคามของประเทศไทยนั้นยังมีปัญหา เกี่ยวกับเรื่องของการบัญญัติการคุกคามทางเพศซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ได้นํามาบัญญัติไว้ใน ภาค 3 ลหุโทษ (มาตรา 367-398) แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยความผิดในส่วนของการคุกคาม ตามมาตรา 397 วรรคหนึ่งนี้อาจไม่รวมถึงการคุกคามในทางเพศ (Sexual Harassment) ซึ่งส่งผลให้ เกิดปัญหาในการตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ปัญหาในการกําหนดบทนิยาม ของกฎหมายเกี่ยวกับคุกคามทางเพศ และปัญหาในการกําหนดบทลงโทษของการคุกคามทางเพศ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางในการแก้ไข กล่าวคือ 1. ควรที่จะบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ โดยบัญญัติเป็นบทบัญญัติมาตราต่างหาก และควรอยู่ในภาค 2 ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ แห่งประมวลกฎหมายอาญา 2. ควร จะกําหนดนิยามความหมาย รูปแบบ ลักษณะของปัญหาการคุกคามทางเพศให้ชัดเจน 3. ควร ปรับปรุงอัตราโทษปรับโดยการเพิ่มอัตราโทษให้มีความเหมาะสม 4. ควรที่จะมีการแบ่งแยกระดับของ ลักษณะการกระทําความผิดเพื่อกําหนดเหตุเพิ่มโทษในการคุกคามทางเพศตามพฤติการณ์และระดับ ความร้ายแรงของการกระทํา 5. ควรให้อํานาจผ่านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการวางระบบ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ให้คําปรึกษาทางด้านกฎหมาย การยื่นเรื่อง ร้องทุกข์หรือชี้เบาะแสในคดีเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ทั้งนี้เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบัญญัติ กฎหมายเพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศนั้นสามารถใช้บังคับตามเจตนารมณ์ของ กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560