Show simple item record

dc.contributor.advisorจิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์th
dc.contributor.authorชนนิกานต์ คงชื่นสินth
dc.date.accessioned2023-01-11T03:13:32Z
dc.date.available2023-01-11T03:13:32Z
dc.date.issued2017
dc.identifierb203224th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6132
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการสื่อสารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการบริโภค อาหารคลีน ของผู้ประกอบธุรกิจอาหารคลีนและนักวิชาการด้านโภชนาการ และ 2) ศึกษาปัจจัย การสื่อสารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารคลีน ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบธุรกิจอาหาร คลีน จ านวน 3 ราย นักวิชาการด้านโภชนาการ จำนวน 2 ราย และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำ การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ผ่านทางกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นแฟนเพจเฟซบุ๊คที่จำหน่าย อาหารคลีน จำนวน 400 ราย ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS และทำการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ Pearson’s Correlationth
dc.description.abstractผลการวิจัยพบว่าทัศนคติเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการบริโภคอาหารคลีนของผู้ประกอบ ธุรกิจอาหารคลีนและนักวิชาการด้านโภชนาการ มีดังนth
dc.description.abstract1) ผู้ประกอบธุรกิจอาหารคลีนและนักวิชาการด้านโภชนาการ ในฐานะผู้ส่งสาร ควรมีทักษะในการสื่อสาร มีการใช้เทคนิคการสื่อสาร มีการประเมินและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย หลัก เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาหารคลีนเป็นอย่างดี 2) ด้านสาร มีความน่าเชื่อถือของข้อมูลเกี่ยวกับอาหารคลีน การสื่อสารทาง สัญลักษณ์ เช่น การใช้ภาพ หรือ Info Graphic การน าเสนอข้อมูลทางโภชนาการ การใช้ภาษา ฯลฯ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก 3) ด้านช่องทางการสื่อสาร ควรเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารให้เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย เช่น การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับกลุ่มวัยรุ่น การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ กับ กลุ่มผู้สูงอายุ การใช้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการจากต่างประเทศ ไม่สามารถท าให้ประชาชน เกิดการบริโภคอาหารคลีนเพิ่มขึ้นth
dc.description.abstract4) ด้านผู้รับสาร จากการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอาหารคลีน ผู้บริโภคส่วนหนึ่งมี ความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารคลีน ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคจะ เกิดขึ้น เมื่อผู้บริโภคเห็นว่าอาหารคลีนช่วยให้มีสุขภาพดี และช่วยในการลดน้ำหนักได้ ปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานครคือ 1) ผู้ส่งสาร ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจอาหารคลีน และนักวิชาการด้านโภชนาการ เป็นผู้ที่ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงและมีความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระดับสูง 2) สาร มีการใช้ข้อความเพื่อการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ ใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ ข้อความที่สื่อถึงจุดเด่นของอาหารคลีน รูปแบบอาหารคลีนที่ปลอดสารพิษ และแหล่ง เลือกซื้ออาหารคลีนที่ห้างสรรพสินค้า/ซุปเปอร์มาร์เกต 3) ช่องทางการสื่อสาร มีการเลือกใช้สื่อที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้ข้อมูลได้ อย่างหลากหลาย 4) ผู้รับสาร เห็นว่าการใช้ข้อความในสื่อที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้ ผู้บริโภคในฐานะผู้รับสารรับรู้ข้อมูลที่เป็นจริงมากขึ้น และตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนด้วยตนเอง โดยความถี่ในการรับประทานอาหารคลีนสัปดาห์ละ 1-2 วันth
dc.description.provenanceSubmitted by Chitjai Singhapong (chitjai.s@nida.ac.th) on 2023-01-11T03:13:32Z No. of bitstreams: 1 b203224.pdf: 2330631 bytes, checksum: 7294922392859f3470fdf76a1c65ad8f (MD5)th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-11T03:13:32Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b203224.pdf: 2330631 bytes, checksum: 7294922392859f3470fdf76a1c65ad8f (MD5) Previous issue date: 2017th
dc.format.extent146 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการสื่อสารth
dc.titleการสื่อสารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeCommunication affecting clean food consumption decisions of consumers in Bangkokth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.88


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record