ปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับ "กฎ" ต่อศาลปกครอง
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
239 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b198276
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อนุรักษ์ ศุภลักษณ์ (2017). ปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับ "กฎ" ต่อศาลปกครอง. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6134.
Title
ปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับ "กฎ" ต่อศาลปกครอง
Alternative Title(s)
The problem of lawsuit on "Rules" against Administrative Court
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับ “กฎ” ถึงแนวความคิดในการตรา องค์กรที่มีอำนาจ สถานะ ประเภท ผลทางกฎหมาย การพิจารณาแยกความแตกต่าง และอายุความ ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข นำมาปรับใช้ และนำไปสู่ บทสรุปและข้อเสนอแนะในปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับ “กฎ” ต่อศาลปกครอง โดยเป็นการศึกษาโดย วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหลักกฎหมาย เอกสารประเภทต่าง ๆ ทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และนำข้อมูลมาดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อนำมาเป็น หลักเกณฑ์มาตรฐานของลักษณะของ “กฎ” จากการศึกษาพบว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองในคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการ ที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตรากฎโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือการละเมิดที่เกิด จากกฎ มีประเด็นปัญหาที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายประการ ดังนี้ ปัญหาเขตอำนาจศาลในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ตราโดยองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ โดยปัญหาดังกล่าวมีที่มาจากสถานะความเป็นอิสระขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับกฎที่มีความเกี่ยวพันกับมาตรการภายในของฝ่ายปกครอง โดย ปัญหาดังกล่าวมีที่มาจากการไม่แบ่งแยกระหว่างกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่มีที่มาจากฐานอำนาจตาม กฎหมายระดับพระราชบัญญัติขึ้นไป และกฎเกณฑ์ภายในของฝ่ายปกครองที่มีที่มาจากอำนาจบังคับ บัญชา ปัญหาการเริ่มนับอายุความในการฟ้องคดีเกี่ยวกับกฎ โดยปัญหาดังกล่าวมีที่มาจากกรณีวัน เริ่มต้นการนับระยะเวลาในการฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 49 และกรณีที่ศาล ปกครองรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาในการฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเมื่อเห็นว่าการฟ้องคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็น อื่นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาขอนำเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา โดยการตีความบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย รวมถึงอาจสร้างหลักเกณฑ์โดยการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายในกรณีดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้ การพิจารณาอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง นอกจากพิจารณาตามที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องพิจารณากฎหมายเฉพาะประกอบด้วย กล่าวคือ พิจารณา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย และควร ตีความนิยามของคำว่าหน่วยงานทางปกครองตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยรวมถึง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญตรากฎ เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจทางปกครองขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ควรตีความนิยามของกฎในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยไม่รวมถึงมาตรการภายในของฝ่ายปกครอง เนื่องจากมาตรการภายใน ของฝ่ายปกครองเป็นกรณีที่ฝ่ายปกครองกำหนดขึ้นเองโดยอาศัยอำนาจทางบริหารหรืออำนาจทั่วไป ของผู้บังคับบัญชาและมีผลบังคับใช้ภายในฝ่ายปกครองเท่านั้น เนื่องจากกฎจะต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่มี ผลโดยตรงไปยังภายนอก ทั้งนี้ คำว่ามีผลโดยตรงไปยังภายนอก หมายถึง มีผลโดยตรงไปสู่ประชาชน และหมายความรวมถึงมีผลโดยตรงไปสู่เจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีที่เป็นความสัมพันธ์พื้นฐานด้วย ควรตีความวันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีซึ่งเป็นการนับระยะเวลาเริ่มต้นในการฟ้อง คดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยเริ่มต้นนับแต่วันที่กฎนั้นได้ประกาศใช้บังคับไม่ว่าจะ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือประกาศด้วยวิธีอื่นตามที่กฎหมายกำหนด และควรตีความข้อยกเว้น กรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยไม่รวม เรื่องของประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในเรื่องของ ระยะเวลา และกฎไม่ควรถูกฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายได้ตลอดเวลา
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560