หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย
by ภัสวรรณ อุชุพงศ์อมร
Title: | หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย |
Other title(s): | General principles of law in Thai administrative law |
Author(s): | ภัสวรรณ อุชุพงศ์อมร |
Advisor: | บรรเจิด สิงคะเนติ |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2016.166 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงหลักสารบัญญัติของหลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย โดย หลักกฎหมายทั่วไปนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง และเป็นหลักกฎหมายที่มิได้บัญญัติไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งศาลได้ค้นหาและนำมาใช้ในการอุดช่องว่างของกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใน การนี้ได้ศึกษาถึงคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในการนำหลักกฎหมายทั่วไปมาพิจารณาประกอบ ในการวินิจฉัยคดีปกครอง โดยได้ศึกษาหลักกฎหมายเรื่องดังกล่าวของต่างประเทศด้วยเพื่อเป็น ประโยชน์สำหรับการวางแนวทางในเรื่องหลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย จากการศึกษาพบว่า รากฐานแนวคิดของหลักกฎหมายทั่วไปทั้งในประเทศอังกฤษ ประเทศ ฝรั่งเศส และประเทศไทย ต่างมีรากฐานแนวคิดหลักมาจากหลักนิติรัฐ หรือหลักนิติธรรม และมีการ นำมาใช้ในการอุดช่องว่างของกฎหมาย หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทยนั้นได้ถูกพัฒนา และนำมาใช้มากขึ้นภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้เป็นผลมาจากหลักกฎหมายดังกล่าวหลายหลักได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบ กับเป็นช่วงที่มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี ปกครองโดยเฉพาะ ซึ่งศาลได้มีการค้นหาและนำหลักกฎหมายทั่วไปหลักใหม่ ๆ มาใช้ในการพิจารณา พิพากษาคดี เช่น การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น จากการวิเคราะห์ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึง ปัจจุบัน พบว่า การใช้หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทยนั้น แบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรก ศาลปกครองได้น ามาปรับใช้กับคดีในฐานะ “บทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร” กล่าวคือ เป็นกรณีที่ หลักกฎหมายทั่วไปนั้นได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว และกรณีที่สอง ศาลปกครองได้ นำมาปรับใช้กับคดีในฐานะ “หลักการทั่วไปทางกฎหมาย” กล่าวคือ เป็นกรณีที่หลักกฎหมายทั่วไป นั้นยังมิได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำหลักกฎหมายทั่วไป แต่ละหลักมาปรับใช้กับคดีของศาลนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการใช้หลักกฎหมายดังกล่าว อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับข้อเท็จจริงในคดี ทั้งนี้ เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เพื่อผดุงไว้ซึ่งความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม การที่ศาลจะนำหลัก กฎหมายทั่วไป ในฐานะ “หลักการทั่วไปทางกฎหมาย” มาปรับใช้กับคดีได้จะต้องเป็นกรณีที่ไม่มี กฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องนั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายลายลักษณ์ อักษร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | กฎหมายปกครอง -- ไทย |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 281 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6136 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|