• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล: ศึกษาพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ...

by เสริมพงษ์ รัตนะ

ชื่อเรื่อง:

หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล: ศึกษาพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ...

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Legal principles on liability of the official for wrongful act and the jurisdictional problems : a study of the Act for Liability of the Official for Wrongful Act, B.E. 2539 and the Draft of the Act on Liability of the Official for Wrongful Act B.E …

ผู้แต่ง:

เสริมพงษ์ รัตนะ

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

บรรเจิด สิงคะเนติ

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Doctoral

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2559

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2016.168

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของรัฐในระบบ กฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส และศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเขตอํานาจศาลของพระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... อันจะนําไปสู่การเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องเขตอํานาจศาลในการ พิจารณาคดีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายว่าด้วยความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิด ของรัฐในระบบกฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส และส่วนที่สอง เป็นการศึกษาปัญหาเขตอํานาจ ศาลของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. … พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบันพ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดทางแพ่งในระบบกฎหมายเอกชนที่บัญญัติไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรเพียงหลักกฎหมายเดียวในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และได้นําหลัก กฎหมายเรื่องละเมิดทางแพ่งมาใช้กับละเมิดทางปกครองในระบบกฎหมายมหาชนในฐานะบท กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ โดยให้ศาลยุติธรรมมีอํานาจพิจารณาคดี ละเมิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทําละเมิดนอกการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ได้ ใช้อํานาจตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับพระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาคดีละเมิดทางปกครอง ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้อํานาจตามกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบกับ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเขต อํานาจศาลในคดีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มีองค์กรหนึ่ง คือ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่าง ศาล พ.ศ. 2542 ทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีพิพาทจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่อยู่ในเขต อํานาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง และปัจจุบันมีการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทาง ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ซึ่งทําหน้าที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีความเห็นว่า ในระบบกฎหมายไทยไม่มีการกําหนดเรื่องละเมิดทางปกครองไว้โดยเฉพาะ จึงมีเรื่องละเมิดทางแพ่ง และมูลหนี้ทางแพ่งของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการของหลักกฎหมายว่าด้วยความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และก่อให้เกิดปัญหาเขตอํานาจศาล ดังนั้น ควรดําเนินการดังนี้ 1) แก้ไขพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยนําบรรทัดฐานจากแนว คําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลไปกําหนดความรับผิดของ เจ้าหน้าที่ในคดีละเมิดทางแพ่งซึ่งอยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมและคดีละเมิดทางปกครองซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลปกครอง 2) นําบรรทัดฐานจากคําพิพากษาของศาลยุติธรรมและศาลปกครองไป กําหนดแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการฟ้องไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 3) ทบทวนมาตรา 25 แห่งร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... ในการกําหนดเขตอํานาจ ศาลเกี่ยวกับคดีที่เอกชนร่วมกระทําละเมิดกับเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับแนวคําวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลซึ่งวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า กรณีมูลความแห่งคดี เดียวกัน จึงชอบที่จะได้พิจารณาที่ศาลเดียวกัน โดยให้อํานาจศาลที่พิจารณาคดีหลักสามารถพิจารณา คดีรองได้ และ 4) ทบทวนมาตรา 21 และมาตรา 26 แห่งร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... ที่กําหนดว่าการที่หน่วยงานของรัฐใช้สิทธิไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดเป็น เพียงหนังสือเรียกให้ชําระหนี้โดยไม่ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง และให้อยู่ในอํานาจศาลยุติธรรมยัง ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง เพราะโดยสภาพคําสั่งดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้น เจ้าหน้าที่ควร มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งทางปกครองได้ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิของ เจ้าหน้าที่ควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิของหน่วยงานของรัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ความรับผิด (กฎหมาย)
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

ประเภททรัพยากร:

ดุษฎีนิพนธ์

ความยาว:

254 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6138
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b198229.pdf ( 1.11 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Dissertations [35]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×