• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การนำการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย: กรณีศึกษา กระทรวงอุตสาหกรรม

by จิตรเลขา หวลกสิน

ชื่อเรื่อง:

การนำการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย: กรณีศึกษา กระทรวงอุตสาหกรรม

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Performance management implementation in Thai government agencies : a case study of Ministry of Industry

ผู้แต่ง:

จิตรเลขา หวลกสิน

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

ชื่อปริญญา:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2560

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2017.93

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาเรื่องการนำเครื่องมือการบริหารผล การปฏิบัติงาน (Performance Management) มาใช้กับส่วนราชการไทย ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2559 ในประเด็นเกี่ยวกับ 1) บทบาทของหน่วยงานกลาง 2) กระบวนการในการ นำการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย และ 3) ความสอดคล้องกับบริบทของ ประเทศไทย
การศึกษาใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลส าคัญ 3 ส่วนประกอบด้วย ส่วนราชการคือ 7 กรมของกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานกลางคือ ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และนักวิชาการที่มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เกี่ยวกับการน าการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับ ส่วนราชการไทย รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 66 คน
ผลการศึกษา พบว่า การน าการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทยยังไม่ สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการวัดที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการและ สามารถปฏิบัติงานบริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพสูง โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานและ กำหนดผู้รับผิดชอบงานแต่ละระดับอย่างชัดเจนเนื่องจากวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานได้ถูกนำมา ใช้กับส่วนราชการเหมือนกันทั้งประเทศ ขณะที่ บทบาทและภารกิจของแต่ละส่วนราชการแตกต่าง กันจึงส่งผลให้กระบวนการในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของแต่ละกรมของกระทรวง อุตสาหกรรมประสบกับปัญหาและข้อจำกัดในการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานและเกิดการหา วิธีการวัดผลเพื่อต้องการผ่านเกณฑ์การวัดตามที่หน่วยงานกลางกำหนด
การศึกษานี้ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสำหรับการนำเครื่องมือการบริหารผลการ ปฏิบัติงานมาใช้กับส่วนราชการไทย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องคำนึงถึง ได้แก่ 1) การทบทวนถึงการนำเครื่องมือการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้ 2) ความสอดคล้องกับค่านิยมและวัฒนธรรมของประเทศไทย และ 3) บทบาทของหน่วยงานกลาง สำหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติที่ส่วนราชการสามารถนำเครื่องมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล ได้แก่ 1) การสร้างกฎเกณฑ์ของการนำเครื่องมือมาใช้ 2) การเริ่มต้นขับเคลื่อนจากผู้นำองค์การ 3) ความ สอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์และ 4) ความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์ และการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ และข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยใน อนาคตเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการนำเครื่องมือการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้กับ ประเทศไทย ได้แก่ 1) การศึกษาเปรียบเทียบถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการนำ เครื่องมือการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้ ในแต่ละประเทศ 2) การศึกษาถึงค่านิยมและ วัฒนธรรมในการทำงานของระบบราชการไทย 3) การศึกษาส่วนราชการไทยแต่ละประเภท และ 4) การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรภาครัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การบริหาร

ประเภททรัพยากร:

ภาคนิพนธ์

ความยาว:

532 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6142
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b203180.pdf ( 1.35 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×