• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น

by สิริมา นองมณี

ชื่อเรื่อง:

การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Transfer of authority of investigations other than the principal mission of the Royal Thai Police to other government agencies

ผู้แต่ง:

สิริมา นองมณี

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

บรรเจิด สิงคะเนติ

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2559

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2016.165

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงภารกิจอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามหลักสากล 2) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจใน ต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจ ในประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจ หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการศึกษาค้นคว้าจาก ตำรา เอกสารทางวิชาการ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 พระราช กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ กฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาทำให้ทราบ ว่าอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มีอยู่อย่าง กว้างขวางไม่ชัดเจน มีภารกิจมากมายที่ต้องปฏิบัติ มีทั้งหน้าที่หลักในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม และยังเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับกิจกรรม หลักที่สำคัญของรัฐแทบทุกด้านนับตั้งแต่ การจัดเก็บภาษี การศุลกากร การทหาร การสื่อสาร การบิน การศึกษา การพัฒนาชุมชน การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ และการมหรสพ เป็นต้น อันเป็นผลพวง มาจากพัฒนาการของตำรวจในอดีตที่รับการฝากงานจากหน่วยงานราชการอื่นให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ดังนั้นลักษณะงานที่มีการกำหนดโทษและเป็นการกระทำความผิดทางอาญาทุกประเภทที่เชื่อมโยงกับ เรื่องการสอบสวนจึงได้กลายมาเป็นงานของตำรวจในการดำเนินการเนื่องจากความไม่พร้อมของ หน่วยงานราชการเจ้าของเรื่อง จึงก่อให้เกิดปัญหางานล้นมือและเกิดวิกฤตความล่าช้าของงาน สอบสวนที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นจึงควรทำการปรับปรุงขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจหลักของตำรวจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจ แห่งชาติ พ.ศ.2547 ให้มีความชัดเจน และพิจารณาดำเนินการถ่ายโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจ หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่นกลับไปดำเนินการแทน แต่ไม่ตัดอำนาจ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างตรงจุด เพราะจะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจ และเป็นการสร้างความ เชี่ยวชาญเฉพาะในการบังคับใช้กฎหมาย อันเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมได้ อย่างเป็นระบบอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การบริหารงานตำรวจ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ -- การจัดการ

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

303 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6143
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b198260.pdf ( 6,323.25 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×