• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล

by ปิ่นวดี เกสรินทร์

Title:

ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล

Other title(s):

Legal issues on consumer right protection regarding loss or damage from medical services

Author(s):

ปิ่นวดี เกสรินทร์

Advisor:

บรรเจิด สิงคะเนติ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2017.97

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

เจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุข คือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอ ภาคกันในการรับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการ รักษาพยาบาลจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐต้องเป็นไปอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มี เจตนารมณ์ให้ทุกคนได้รับสิทธิบริการด้านสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดียวกันอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทุกคน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการด้านสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรมและสะดวก โดยไม่ ต้องรอการพิสูจน์ความถูกผิดของแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความ เดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้มีการบังคับใช้ มานานแล้วและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเบื้องต้นไม่ครอบคลุมความเสียหายประชาชนชาวไทย ทุกคนและการชดเชยดังกล่าว จึงไม่สอดคล้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง จากการศึกษา พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มาตรา 41 พบว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มุ่งคุ้มครองผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น ไม่คุ้มครอง สิทธิอื่น เช่น สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิประกันสังคม ทําให้เกิดปัญหา ความไม่เสมอภาคในการได้รับเงินช่วยเหลือกรณีที่เกิดความเสียหายจากการเข้ารับบริการด้าน สาธารณสุข ทั้งหลักเกณฑ์การพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้นยังไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายทุก ประเภทที่เกิดจากการรับบริการในหน่วยบริการสาธารณสุข และมีจํานวนเงินที่ไม่เหมาะสมกับ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เพราะเงินช่วยเหลือเป็นเพียงเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้น จึง จําเป็นต้องแก้ปัญหาระหว่างผู้รับบริการสาธารณสุขและผู้ให้บริการสาธารณสุข ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับ ความเสียหายดําเนินคดีฟ้องร้องต่อแพทย์บุคลากรด้านสาธารณสุขหรือหน่วยงาน ในการฟ้องทํา ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่าย ความไม่สะดวกในการดําเนินคดีต่างๆ และเกิด ความไม่ธรรมต่อผู้ให้บริการสาธารณสุข ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษากฎหมายไทยเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ความ คุ้มครองผู้เสียหายที่ได้รับบริการสาธารณสุขจากการรับบริการและความคุ้มครองผู้ให้บริการ สาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ โดยที่คนไทยทุกคนได้รับบริการสาธารณสุขอย่าง เท่าเทียมกัน และได้รับความช่วยเหลือเยียวยาเมื่อเกิดความเสียหายอย่างเท่าเทียม ทุกอาชีพ

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

สิทธิการรักษาพยาบาล
การรักษาโรค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

117 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6147
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b198264.pdf ( 1,256.80 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×