Show simple item record

dc.contributor.advisorวิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์
dc.contributor.authorภวิณี ตึกดี เทพทอง
dc.date.accessioned2023-01-13T08:07:24Z
dc.date.available2023-01-13T08:07:24Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.otherb199263th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6150
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractดิสนีย์ถือเป็นตัวแทนหนึ่งของวัฒนธรรมป๊อบ (Pop Culture) มีการฉายไปสู่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 78 ประเทศทั่วโลกจากการ์ตูนมิกกี้เมาส์และเหล่าผองเพื่อน มินนี่ เมาส์พลูโต กู๊ฟฟี่ และ โดนัลดั๊ก จวบจนปัจจุบนได้สร้างมูลค่าทางธุรกิจกว่า 48,000ล้านเหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2014 โดยการ์ตูนของดิสนีย์ถือเป็นต้นแบบของการ์ตูนประเภทเจ้าหญิง ซึ่งการ์ตูนประเภทเจ้าหญิง เหล่านี้เป็นการ์ตูนที่สอน “ผู้หญิง” ให้เป็น “ผู้หญิง” ตามความต้องการของสังคม เนื่องจากการ์ตูน เป็นสื่อที่เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงแล้วเข้าใจเนื้อหาสารเหล่าน้ันได้ง่าย ส่งผลให้เด็กจะมี ความสนใจในการ์ตูนมากกว่าการสื่อสารในลักษณะอื่น ภาพยนตร์การ์ตูนของวอลท์ดิสนีย์จึงมักใช้การ์ตูนในการสอน และการถ่ายทอดภาพลักษณ์ของเพศหญิง ทั้งเป็นและไม่เป็นไปตามสิ่งที่สังคมในยุคนั้น ๆ คาดหวังข้อสังเกตที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ตัวละครหลักส่วนใหญ่ของ การ์ตูนดิสนียเป็นเพศหญิงโดยตัวละครหลักเหล่านั้นสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีเพศในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดีอาทิการเปลี่ยนแปลงของอัตลั กษณ์และภาพเสมือนที่ชัดเจนของตัวละครในแต่ละช่วงยุคสมัย ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรมในช่วงเวลาดังกล่าว กล่าวคือวัฒนธรรมเป็นเรื่องของความรู้ความเชื่อ ทัศนคติที่ผู้คนในแต่ละสังคมเรียนรู้ผ่านทาง สังคมที่ตนเองใช้ชีวิตอยู่และวัฒนธรรมคือการสื่อสารและการสื่อสารมาจากวัฒนธรรมและเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงมีลักษณะที่เปลี่ยนไปตามวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลผ่านตัวบทของภาพยนตรการ์ตูนประเภทเจ้าหญิงเรื่อยมา จนมาถึงภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่ น เรื่อง โฟรเซ่น (Frozen) “ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการ์ตูน ดิสนีย์ยุคปัจจุบัน โดยงานวิจยเชิงคุณภาพฉบับนี้มุ่งศึกษาการสร้างตัวละครหลักที่มีผลต่อการรับรู้ (Perception) ของ ผู้รับชมในแต่ละช่วงเวลาแต่ละยุคสมัยที่การ์ตูนดิสนีย์ผ่านการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและ กาลเวลา พร้อมกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยซึ่งการสื่อสารของการ์ตูนของดิสนีย์สามารถสะท้อนถึงข้อคิดทางสตรีนิยมไว้อย่างชัดเจนที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อให้ผู้หญิงเดินตามครรลองของสังคมในแต่ละยุคสมัยโดยดำเนินการวิจัยผ่านการวิเคราะห์เอกสารการวิเคราะห์ ตัวบทและการสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิจารณ์ภาพยนตร์และนักวิชาการด้านวรรณกรรมผลการศึกษาคือ 1) การ์ตูนของดิสนีย์มักมีการเสนอภาพของวัฒนธรรมและเนื้อหาผ่านตัวละครของเรื่อง โดยภาพลักษณ์ดังกล่าวนำเสนอจากพื้นเพของเรื่องของตัวละครเหล่านั้น และภาพของวัฒนธรรม ในสมัยนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ชนชั้น (Race) เพศสภาพ (Gender) และภาษา (Language) โดยรูปแบบ ของตัวละครดิสนีย์มักมี ลักษณะเป็นตัวละครตัวแบน (Flat Character) แต่เริ่มเปลี่ยนเป็นตัวละครตัวกลม (Round Character) ในยุคหลัง 2) ด้านเนื้อหา สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ยุค ยุคแรก เป็นลักษณะของการกดดันผู้หญิง ไว้ในบ้าน ในยุคที่สอง เริ่มให้ผู้หญิงกล้าที่จะแตกต่างแต่ยังคงให้ความสำคัญด้านความรู้จากเพศ ชายอยู่และยุคปัจจุบันเนื้อหามุ่งเสริมพลังแก่เพศหญิงและสร้างแนวคิดใหม่แก่เพศหญิงด้านปมของเรื่อง ที่เกิดขึ้นกับตัวละครเอกเพศหญิง เป็นสิ่งสำคัญที่เสนอปมปัญหาที่ไม่เหมือนกัน ยุคแรก มุ่งเสนอปัญหาพื้นฐานของความเป็นผูหญิง ในขณะที่ยุคที่สองมุ่งเน้นปัญหาความต้องการของเพศหญิงและยุคปัจจุบันมุ่งเน้นปัญหาภายในจิตใจเพศหญิงรวมถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมเพศหญิงและสะท้อนตัวละครเอกได้เป็นอย่างดี 3) ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชนั่ เรื่อง โฟรเซ่น (Frozen) “ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” สื่อถึงผู้หญิง 4) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงแบบพี่สาว-น้องสาวเป็นความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน เมื่อเทียบกับความสัมพันธ์แบบพี่ชาย-น้องชาย ความสัมพันธ์ของพี่สาว-น้องสาวเกิดขึ้นในรูปแบบ ของลักษณะทั้งความรักและความไม่พอใจในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นภาพความซับซ้อนของการ สื่อสารระหว่างพี่และน้องจึงเป็นประเด็นใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในเรื่องราวทั้งหมด 5) สังคมเป็นผู้กดดันและสร้างภาพลักษณ์ของเพศหญิง สังคมกดดันให้ผูหญิงต้องรับ สภาพเหล่าน้ันไว้กับตัวทั้งการเป็นแม่การเก่งงานบ้านทำอาหารเก่งและการประพฤติตนที่ดีใน เวลาเดียวกันซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เกิดจากความคาดหวังของสังคม ที่คาดหวังให้ผู้หญิงทำได้และต้องทำได้ดีอีกด้วย 6) สภาพของเพศหญิง เป็นเพศที่ต้องการสร้างอัตลักษณ์ของตนเองแต่ในขณะเดียวกันผู้หญิงก็ต้องการอยู่ในกรอบของสังคม ทำให้ สภาพของผู้หญิงมีบุคลิกขัดแย้งในตนเองสูงกว่าผู้ชาย ซึ่งจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นที่ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ของเพศหญิงแต่มุ่งเน้นเรื่องของการเสริมพลังให้กับผู้ชมเพื่อให้กล้าทำอะไรที่แตกต่าง ไปจากครรลองของสังคม และกล้าที่จะเปิดเผยตนเอง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ก้าวข้ามใน เรื่องของเพศไปแล้ว และเริ่มมีการใส่แนวคิดของเพศที่สามเข้ามาด้วยสองรุ่นโดยผู้หญิงรุ่นเก่าเกิดมาภายใต้ภาวะกดดันทางสังคม และความคาดหวังต่าง ๆ โดยสื่อผ่านตัวละครเอลซ่าและผู้หญิงรุ่นใหม่ เป็นผู้หญิงที่มีอิสระมากกว่าและยังคงแสวงหาสิ่งใหม่อยู่เรื่อย ๆ นอกจากนั้นยังมีความฉาบฉวยในความสัมพนธ์และมองจากมุมมองของตัวเองเป็นหลักโดยใช้แอนนา เป็นตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่th
dc.description.provenanceSubmitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2023-01-13T08:07:24Z No. of bitstreams: 1 b199263.pdf: 1424980 bytes, checksum: 21a90f17a3a7848294a2ff771894d7b1 (MD5)en
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-13T08:07:24Z (GMT). No. of bitstreams: 1 b199263.pdf: 1424980 bytes, checksum: 21a90f17a3a7848294a2ff771894d7b1 (MD5) Previous issue date: 2017en
dc.format.extent100 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherภาพยนตร์การ์ตูนth
dc.subject.otherสตรี -- ภาวะสังคมth
dc.titleการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในการเล่าเรื่องผ่านตัวละครในภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง โฟรเซ่น (Frozen) "ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะth
dc.title.alternativeThe interpretation of femininity through storytelling : a study of protagonists in Frozenth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.100


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record