กลวิธีการเล่าเรื่องของบทเพลงประกอบละครในละครโทรทัศน์ไทย
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
168 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b199264
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อุษา แซ่จิว (2017). กลวิธีการเล่าเรื่องของบทเพลงประกอบละครในละครโทรทัศน์ไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6151.
Title
กลวิธีการเล่าเรื่องของบทเพลงประกอบละครในละครโทรทัศน์ไทย
Alternative Title(s)
The storytelling of original soundtrack in Thai television series
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงกลวิธีการเล่าเรื่องของบทเพลงประกอบละคร รวมถึง บทบาทและหน้าที่จากกลวิธีการเล่าเรื่องของเพลงประกอบละครที่ถูกนำไปใช้ในละครโทรทัศน์ไทย ปัจจุบัน โดยพิจารณาเฉพาะละครยอดเยี่ยมที่ได้รับรางวัลนาฏราช ตั้งแต่ ปี 2557-2558 ได้แก่ ละครสามีตีตรา และละครสุดแค้นแสนรัก ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 6 เพลง ได้แก่ ฉันก็รักของฉัน ไม่เจ็บ อย่างฉันใครจะเข้าใจ เกิดมาเพื่อรักเธอ จากละครสามีตีตรา และเจ็บนี้จำจนตาย แพ้รักให้ตายก็ ไม่รักกัน จากละครสุดแค้นแสนรัก งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากการ วิเคราะห์ตัวบท ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาวิชาชีพ และนักวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาข้อที่หนึ่ง พบว่าการเล่าเรื่องของเพลงละครส่วนใหญ่เป็นการสื่อสาร ทางเดียว ที่มุ่งบอกความต้องการส่วนบุคคล แต่เพลงฉันก็รักของฉัน นำเสนอผ่านตัวละครหลัก สองคนที่ตอบโต้กัน จึงทำให้อารมณ์เพลงมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ขั้นวิกฤตของ เพลงนี้ครอบคลุมตั้งแต่ท่อนฮุคข้ามไปยังท่อนเชื่อม ซึ่งโดยปกติแล้วเพลงอื่นจะหยุดขั้นภาวะวิกฤต ไว้ที่ท่อนฮุค และละครชีวิตทั้งสองเรื่องพบว่าทุกเพลงนำเสนอแก่นความรักที่เป็นขั้วขัดแย้ง สอดคล้องกับอารมณ์เพลงที่มาจากพื้นฐานของละคร การใช้สัญญะมีหน้าที่เล่าข้อมูลที่ลึกลงไปใน จิตใจของตัวละครอันสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติ ค่านิยม รวมถึงภูมิหลังตัวละครหรือค้นพบข้อที่สอง พบว่าบทบาทและหน้าที่ของเพลงประกอบละครในปัจจุบัน นอกจาก เพลงประกอบละครที่ดีต้องส่งเสริมอารมณ์ตัวละครแล้ว ยังต้องเป็นเพลงที่ดี กล่าวคือ เป็นเพลง ที่ให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับเพลงนั้น ๆ ได้ด้วย โดยละครสองเรื่องนี้มีการนำเสนออารมณ์ของ เพลงเหมือนกัน ประกอบไปด้วยหนึ่งเพลงประกอบละครหลักที่นำเสนอแก่นสำคัญ และต้องเป็นมุมมองของตัวละครหลักที่เป็นต้นเหตุสำคัญของเรื่องทั้งหมด ตามด้วยเพลงประกอบละครอีกสอง เพลงที่สะท้อนมุมมองตัวละครหลักฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง โดยหยิบเฉพาะฉากเวลาที่เกิดขั้ว ขัดแย้งมาเล่าเรื่องในเพลง โดยสัญญะที่พบคือการเลือกเสียงประสานที่มีทั้งความหมายทางตรง ที่เห็นได้จากภายนอก เพศสภาพ ช่วงอายุ และความหมายโดยนัยจากการสื่ออารมณ์ การตีความ ผู้ถ่ายทอดทั้งสองต้องมีความเชื่อในระดับเดียวกันเพื่อสื่อสารออกมาในทิศทางเดียว แต่ต่างกันแค่ บริบทในการเล่าเรื่องของเพลงประกอบละครและละครโทรทัศน์
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560