• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน อำเภอป่าสันตอง จังหวัดเชียงใหม่

by ธนานันต์ กัญญาราช

ชื่อเรื่อง:

การพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน อำเภอป่าสันตอง จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

The development management of community welfare fund : Sanpatong District Chiang Mai Province

ผู้แต่ง:

ธนานันต์ กัญญาราช

ชื่อปริญญา:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2560

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2017.102

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน และนําเสนอรูปแบบการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อหาแนวทางพัฒนาการ บริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อําเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ การ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้เครื่องมือ ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)เพื่อหาจุดสําคัญ ควบคู่ไปกับการสังเกต แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ในทุกขัÊนตอนและกระบวนการกลุ่ม กระบวนการทํางาน ตลอดจนการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) เพืÉอหาข้อสรุปในประเด็นการอภิปราย โดยมีกลุ่ม ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่อําเภอสันป่าตอง 3 กองทุน โดย กําหนดคุณสมบัติของกองทุนไว้ 3 ประการ คือ 1) เป็ นกองทุนที่มีสมาชิกมากกว่า 1,000 คนขึ้นไป 2) เป็ นกองทุนที่มีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 1 ล้านบาท 3) เป็ นกองทุนที่ดําเนินการมาแล้วไม่น้อย กว่า 3 ปี เพื่อจํากัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด โดยเก็บข้อมูลครอบคลุมประเด็นหลักคือ 1) การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน 2) รูปแบบการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิกานชุม ชน และ 3) การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชน จากนั้นนําไป วิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลจึงใช้การพรรณนาความ (Descriptive)ควบคู่กับการตีความสร้าง ข้อสรุปแบบอุปนัย (Induction) จากข้อมูลการสัมภาษณ์ประกอบกับเอกสารอื่นๆ (Document Analysis)เพื่อ ความเป็นระบบ เน้นสภาพวัตถุวิสัย และอ้างอิงกรอบแนวคิดทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควบคู่ บริบท (Context)จากการลงภาคสนาม (Field Study) และถ่ายทอดผลการศึกษาด้วยการพรรณนาใน ลักษณะความเรียง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในงานเชิงคุณภาพผลการวิจัยพบว่าใน
ประเด็นที่ 1 การบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนนั้นเป็นการต่อยอดโครงการจากโครงการ ดูแลผู้สูงอายุของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในขณะนั้น ให้กลายมาเป็น กองทุนสวัสดิการชุมชนมีการเก็บเงินออมทรัพย์วันละ 1 บาทเดือนละ 30 บาทต่อคน โดยบังใช้ ระเบียบบริหารกองทุนจากกระทรวง มีคณะกรรมการกองทุนที่มีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละ 2 ปี มีการจัดสรรเงินงบประมาณของกองทุนในลักษณะ 80:20 แบ่งเป็ นเงินจัดสวัสดิการและ บริหารงาน 80เปอร์เซนต์และเก็บไว้เป็ นเงินทุนสํารองอีก 20เปอร์เซนต์
ประเด็นที่ 2 รูปแบบการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชน จากการศึกษาพบว่า รูปแบบที่กองทุนสวัสดิการชุมชนใช้ในปัจจุบันรูปแบบการจัดสวัสดิการองค์กรชุมชนร่วมทุน ผ่าน การสนับสนุนเงินงบประมาณจากภาครัฐบางส่วนและจัดเก็บจากสมาชิกบางส่วน โดยสามารถแบ่ง การจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกองทุนได้ 4 ประเภทหลักได้แก่ การเกิด การศึกษา เจ็บป่วย เสียชีวิต
ประเด็นที่ 3 การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชน ผล การศึกษาพบว่า มี 2 ส่วนคือหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งในระดับจังหวัด และหน่วยงานย่อยอย่าง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่เข้ามาสนับสนุนในเรื่องขององค์ ความรู้ การจัดการ และงบประมาณ และอีกหน่วยงานคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ซึ่ง ให้การสนับสนุนงบประมาณรายปี ให้แก่กองทุน ซึ่งกองทุนสวัสดิการชุมชนจะต้องรายงานผลการ ปฏิบัติงานให้หน่วยงานดังกล่าวทราบเป็นระยะ
ข้อเสนอแนะต่อกองทุนสวัสดิการชุมชน 1) กองทุนสวัสดิการชุมชนจะต้องมีการบูรณาการกับทุนทางสังคม ทุนการเงินอื่น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับสวัสดิการชุมชน 2) กองทุนสวัสดิการชุมชนต้องมีการจัดทําแผนพัฒนาในทุกมิติของการบริหาร จัดการกองทุน เช่น แผนการเพิ่มเติมสมาชิก แผนในการจัดหารายได้ แผนในการพัฒนาการจ่าย สวัสดิการให้กับสมาชิก และแผนการเติบโตไปสู่องค์กรชุมชนรูปแบบอื่นในอนาคต 3) เสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ในเรื่อง ของการออม การจัดสวัสดิการสังคม 4) บูรณาการองค์ความรู้ ความร่วมมือกับกองทุนสวัสดิการชุมชนอื่นๆ ตลอดจน การแลกเปลี่ยนบุคลากร 5) เสริมสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ให้เข้ามาบริหารงานกองทุน และสร้างระบบสารสนเทศ ที่เป็นมาตรฐาน

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

หัวเรื่องมาตรฐาน:

สวัสดิการชุมชน

คำสำคัญ:

กองทุนสวัสดิการ

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

156 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6152
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b203181.pdf ( 852.90 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×