• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

BUSINESS CYCLES IN DIGITAL ECONOMY OF THAILAND

BUSINESS CYCLES IN DIGITAL ECONOMY OF THAILAND

by ADIREK VAJRAPATKUL; ADIREK VAJRAPATKUL; Athakrit Thepmongkol; อัธกฤตย์ เทพมงคล; National Institute of Development Administration. School of Development Economics

ชื่อเรื่อง:

BUSINESS CYCLES IN DIGITAL ECONOMY OF THAILAND
BUSINESS CYCLES IN DIGITAL ECONOMY OF THAILAND

ผู้ร่วมงาน:

National Institute of Development Administration. School of Development Economics

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

Athakrit Thepmongkol
อัธกฤตย์ เทพมงคล

วันที่เผยแพร่:

NaN/2022

หน่วยงานที่เผยแพร่:

National Institute of Development Administration

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

This study examines the impact of digital technology on economic volatility, also known as the business cycle, by using a famous methodology called the DSGE model. Two major models are constructed, namely the baseline one-sector model and the two-sector model. The baseline one-sector model is constructed to express the reactions of variables to technology, fiscal policy, and monetary policy shocks in both closed and open economies. The two-sector model is formulated by separating the production part of the economy into two sectors, namely the non-digital sector and the digital sector. Also, this hypothetical economy is separated into closed and open economies. In the two-sector model, the effects of digital output on both sectors and the overall economy are identified. The analyses of these models are conducted by using data from Thailand and the Bayesian estimation technique. It is revealed from the baseline one-sector model that in the case of the technology shock, some variables in an open economy are more volatile than in a closed economy. In the case of the government's spending shock, some variables in an open economy are less volatile than those in a closed economy. When it comes to monetary policy shocks, monetary policy contraction has a greater negative impact on economic growth in an open economy. Regarding the two-sector closed economy, it is found that the reactions to the modified form of non-digital technological evolution are more volatile than those to the general form of non-digital technological evolution. Similarly, the general form of digital technology evolution is compared to the modified form of digital technology evolution. It is found that the reactions to the modified form are more volatile than those to the general form. It is also observed that there are effects of technological evolution in the digital sector that spread to the non-digital sector. In the case of a two-sector open economy, which investigates only the effects of the modified form of technological evolution, it is discovered that reactions to the modified form of non-digital technological evolution in an open economy are more volatile than those to the modified form of non-digital technological evolution in a closed economy. Furthermore, it is discovered that reactions to a modified form of digital technological evolution in an open economy are more volatile than reactions to a modified form of digital technological evolution in a closed economy. Similarly, the effects of technological evolution in the digital sector spread to the non-digital sector. Based on the results of the analysis, it is recommended that the government should recognize the effects of technological evolution on the volatility of economic growth, the business cycle in particular, in the context of an open economy. Thus, it should develop a set of policies that encourage both technological development and economic openness in order to reap the greatest benefits. The government should also support the development of technology in the digital sector because it can produce positive effects on both the digital and non-digital sectors. However, the government has to simultaneously prepare projects to stabilize the economy as the digital sector’s technological evolution can exacerbate economic volatility.
งานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการระบุผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่าวัฏจักรธุรกิจ โดยใช้วิธีการที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ที่เรียกว่าแบบจำลอง DSGE และได้ทำการสร้างแบบจำลองหลักจำนวนสองแบบ ได้แก่ แบบจำลองพื้นฐานที่เป็นภาคการผลิตเดียวและแบบจำลองสองภาคการผลิต ซึ่งแบบจำลองพื้นฐานแบบภาคการผลิตเดียวถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงปฏิกิริยาของตัวแปรต่างๆ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน ทั้งในระบบเศรษฐกิจแบบปิดและแบบเปิด ส่วนแบบจำลองแบบสองภาคการผลิต เป็นแบบจำลองที่มีการแยกภาคการผลิตภายในระบบเศรษฐกิจออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ภาคการผลิตที่ไม่ใช่ดิจิทัลและภาคการผลิตที่เป็นดิจิทัล และจำแนกเป็นเศรษฐกิจแบบปิดและแบบเปิดเช่นเดียวกับแบบจำลองพื้นฐาน โดยในแบบจำลองสองภาคการผลิตจะทำการระบุผลกระทบของผลผลิตดิจิทัล ต่อทั้งสองภาคการผลิต และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม การวิเคราะห์แบบจำลองที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลของประเทศไทยและใช้เทคนิคการประมาณค่าแบบ เบย์เซียน ผลจากการศึกษาด้วยตัวแบบพื้นฐานพบว่าในกรณีของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตัวแปรบางตัวในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีความผันผวนมากกว่าในระบบเศรษฐกิจแบบปิด ส่วนในกรณีของการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของรัฐบาล พบว่าตัวแปรบางตัวในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีความผันผวนน้อยกว่าตัวแปรในระบบเศรษฐกิจแบบปิด ในด้านการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงิน พบว่าการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัวมีผลกระทบในทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมากในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด   สำหรับเศรษฐกิจแบบปิดในตัวแบบสองภาคการผลิตนั้น พบว่าปฏิกิริยาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งใช้ฟังก์ชั้นที่มีการดัดแปลง ในภาคการผลิตที่ไม่ใช่ดิจิทัล นั้นมีความผันผวนมากกว่าปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีซึ่งใช้ฟังก์ชั่นแบบทั่วไป ในทำนองเดียวกัน ฟังก์ชั่นแบบทั่วไปของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลก็ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับฟังก์ชั่นที่มีการดัดแปลง ในภาคการผลิตที่เป็นดิจิทัล ซึ่งพบว่าปฏิกิริยาต่อฟังก์ชั่นที่มีการดัดแปลงมีความผันผวนมากกว่าปฏิกิริยาต่อฟังก์ชั่นทั่วไป นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในภาคการผลิตดิจิทัลมีการแพร่กระจายไปยังภาคการผลิตที่ไม่ใช่ดิจิทัล ส่วนในกรณีของเศรษฐกิจแบบเปิดสองภาคการผลิต ซึ่งศึกษาเฉพาะผลกระทบของฟังก์ชั่นที่มีการดัดแปลงของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี พบว่าปฏิกิริยาต่อฟังก์ชั้นที่มีการดัดแปลงของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของภาคการผลิตที่ไม่ใช่ดิจิทัล ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดนั้นมีความผันผวนมากกว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในภาคการผลิตที่ไม่ใช่ดิจิทัลในระบบเศรษฐกิจแบบปิด นอกจากนี้ ยังพบว่าปฏิกิริยาต่อ ฟังก์ชั่นที่มีการดัดแปลง ของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลในระบบเศรษฐกิจแบบเปิดนั้นมีความผันผวนมากกว่าปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลในระบบเศรษฐกิจแบบปิด ในทำนองเดียวกัน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในภาคดิจิทัลได้มีการแพร่กระจายไปยังภาคที่ไม่ใช่ดิจิทัล จากผลการวิเคราะห์จึงเสนอว่ารัฐบาลควรตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีต่อความผันผวนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผันผวนทางเศรษฐกิจในบริบทของเศรษฐกิจแบบเปิด ดังนั้นรัฐบาลควรพัฒนาชุดนโยบายที่ส่งเสริมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจสู่ต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์สูงสุด โดยรัฐบาลควรสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในภาคการผลิตดิจิทัลด้วย เนื่องจากก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งภาคดิจิทัลและภาคที่ไม่ใช่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องจัดเตรียมโครงการเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของภาคการผลิตดิจิทัลอาจทำให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

รายละเอียดเพิ่มเติม:

Doctor of Philosophy (Economics) (Ph.D.(Econ.))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) (Ph.D.(Econ.))

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจดิจิทัล
DSGE
การประมาณค่าแบบเบย์เซียน
ประเทศไทย
วัฏจักรธุรกิจ
Business cycle
Digital economy
DSGE
Bayesian estimation
Thailand

ชนิดของสื่อ:

Dissertation
ดุษฎีนิพนธ์

ภาษา:

en

สิทธิในการใช้งาน:

National Institute of Development Administration

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6158
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • 5810341009.pdf ( 6,716.40 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [191]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×