การศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา
by ลัดดา ทะสะโส
Title: | การศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา |
Other title(s): | Long-term characteristic of visibility in Thailand and its related meteorological factors |
Author(s): | ลัดดา ทะสะโส |
Advisor: | ภัคพงศ์ พจนารถ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2022 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ทัศนวิสัยในการมองเห็นนับเป็นปัจจัยที่สำคัญในชีวิตประจำวัน และถือเป็นพารามิเตอร์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา ดังนั้นในการศึกษานี้เป็นการศึกษาทัศนวิสัยระยะยาวในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ ปริมาณเมฆ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณฝน ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทัศนวิสัยรวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อทัศนวิสัยในประเทศไทย โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิประกอบด้วยข้อมูลทัศนวิสัย ข้อมูลเมฆ ข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์ และข้อมูลปริมาณน้ำฝน ราย 3 ชั่วโมง ระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2552 – 2561) จำนวน 43 สถานี (ตัวแทนจากทุกภูมิภาคในประเทศไทย) และวิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์จากค่า Rescaling (min-max normalization) ของทัศนวิสัยกับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา พบว่า ลักษณะแปรผันประจำวัน (Diurnal Variation) ของทัศนวิสัยในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา มีลักษณะและความสัมพันธ์ของการแปรผันในรอบวันที่สอดคล้องกัน พบว่าความชื้นสัมพัทธ์มีความสัมพันธ์กับทัศนวิสัยในรอบวันมากที่สุด และส่งผลทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นต่ำลง เมื่อเทียบกับปริมาณเมฆ และปริมาณน้ำฝน อาจเนื่องจากในรอบวัน 24 ชั่วโมง ความชื้นสัมพัทธ์นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดรอบวัน โดยปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์ในรอบวันหลักๆ ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศประจำวัน ลักษณะทางกายภาพพื้นที่ที่ตรวจวัด และเวลาในการตรวจวัด ในขณะที่ลักษณะรายฤดูกาล (Seasonal Variation) ของทัศนวิสัยในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา พบว่า ความสัมพันธ์รายฤดูกาลของทัศนวิสัยในแต่ละภาคในประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน โดยที่ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของทัศนวิสัยกับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา คือ ภูมิประเทศ และฤดูกาล ทั้งนี้ยังรวมถึงปัญหาไฟป่า และการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งทำให้มีปริมาณฝุ่น หมอกควันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ทางตอนบนของประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภาคพื้นทวีป ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีความสัมพันธ์ของทัศนวิสัยกับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาในทิศทางที่แปรผันตรง กล่าวคือในช่วงของช่วงหน้าแล้งหรือฤดูร้อนจะมีความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณฝนต่ำ ประกอบกับการเกิดปัญหาไฟป่า และการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม จึงส่งผลให้ทัศนวิสัยต่ำ ในขณะที่บริเวณภาคใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ทำให้มีความชื้นสัมพันธ์ที่ค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี ประกอบกับเป็นภูมิภาคที่ติดทะเล และได้รับผลกระทบจากลมมรสุม ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของทัศนวิสัย กับปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยามีความสัมพันธ์ในทิศทางที่แปรผกผัน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565 |
Subject(s): | อุตุนิยมวิทยา |
Keyword(s): | ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา
e-Thesis ทัศนวิสัย ความชื้นสัมพัทธ์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 292 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | National Institute of Development Administration ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6166 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|