แนวทางการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลานิล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง และหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษา: ณัชพล ฟาร์ม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
Files
Publisher
Issued Date
2022
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
152 leaves
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b214771
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ฐิตา วรจินดา (2022). แนวทางการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลานิล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง และหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษา: ณัชพล ฟาร์ม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6167.
Title
แนวทางการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลานิล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง และหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษา: ณัชพล ฟาร์ม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
Alternative Title(s)
Guidelines for promoting tilapia breeding by life cycle assessment techniques to reduce the environmental impact based on smart farmer and circular economy principles : case study Natchaphon Farm, Sai Noi District, Nonthaburi Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเพาะเลี้ยงปลานิล โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) แบบ Cradle to Gate รวมถึงการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปัจจัยนำเข้า (Input) ของกระบวนการเพาะเลี้ยงปลานิลในพื้นที่ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล และการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยผู้วิจัยเลือกพื้นที่ทำการศึกษาแบบเจาะจง คือ ฟาร์มที่ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบบกึ่งพัฒนา (Semi-intensive culture) ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบบกึ่งพัฒนา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการเพาะเลี้ยงปลานิลในพื้นที่
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเพาะเลี้ยงปลานิลทั้ง 4 ขั้นตอนหลัก มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตปลานิล โดยมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 197.856 KgCO2eq/รอบการวิด/10 ไร่การผลิต รองลงมาคือกระบวนการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมอยู่ที่ 192.136 KgCO2eq/รอบการเลี้ยง/10 ไร่การผลิต กระบวนการการเพาะเลี้ยงปลานิล มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมอยู่ที่ 36.246 KgCO2eq/รอบการเลี้ยง/10 ไร่การผลิต และการขนส่งปลานิลสู่ตลาดปลา มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 28.176 KgCO2eq/รอบการขนส่ง/10 ไร่การผลิต ซึ่งก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่เกิดจากการใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันดีเซลและไฟฟ้า นอกจากนี้เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต พบว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษ เนื่องจากน้ำที่ระบายออกจากบ่อระหว่างการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำนั้นไม่มีการบำบัด และมีของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลา เศษอาหารที่ตกค้าง ตะกอนดินที่ปนเปื้อนมากับน้ำ
จากปัญหาที่ค้นพบ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลและการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามหลักการเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) และหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเกษตรกรตัดสินใจเลือกทั้งหมด 5 แนวทาง ได้แก่ 1) การจัดการของเหลือจากการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฝุ่นละอองจากกระบวนการเพาะเลี้ยงปลานิล 3) การจัดการข้อมูล โดยการตรวจสอบและบันทึกข้อมูล ก่อนนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงปลานิลและการพัฒนาอาชีพ 4) การลดต้นทุนจากการเพาะเลี้ยงปลานิลควบคู่กับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ 5) การรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงปลานิล
This research has its key objectives of assessing environmental impacts caused by Tilapia farming, using Life Cycle Assessment (LCA): Cradle to Gate method and Greenhouse gas emissions to suggest guidelines to reduce the impact and improve the Tilapia farming process. The Semi-Intensive culture farming method was applied together with an in-depth interview from key relevant persons including farmers who breed Tilapia using a Semi-Intensive culture method from nearby areas. This research found that greenhouse gas emissions released from the farm are based on four main processes of breeding. 1) Harvesting has released the most of 197.856 KgCO2eq/year 2) Preparatory processes which is 192.136 KgCO2eq/year 3) Growing process, which is 36.246 KgCO2eq/year and 4) Transportation to fish markets, which is 28.176 KgCO2eq/year. A significant reason is due to the use of a diesel-powered pump in addition to the fact when considering environmental impact, the discovery of pond aquaculture is a source of pollution because of water drained from ponds during aquaculture and fishing untreated, containing many wastes arising out of the fish excretion and leftover food sediment leading to contaminated water. This research, therefore, recommended the key guidelines for the development of Tilapia farming and the reduction of environmental impacts based on Smart Farmer and Circular Economy principles as divided into 5 points: 1) Management of residues from Tilapia farming to increase economic value. and reduce environmental impact 2) Reducing greenhouse gas emissions and particulate emissions from Tilapia Farming Process 3) Data management by checking and recording before being used for decision-making in solving environmental problems arising from tilapia farming and career development cost 4) Cost reduction from Tilapia farming coupled with reducing environmental impact and 5) Exchange and enhance knowledge on the environmental impact caused by Tilapia farmers among other farmers in nearby areas.
This research has its key objectives of assessing environmental impacts caused by Tilapia farming, using Life Cycle Assessment (LCA): Cradle to Gate method and Greenhouse gas emissions to suggest guidelines to reduce the impact and improve the Tilapia farming process. The Semi-Intensive culture farming method was applied together with an in-depth interview from key relevant persons including farmers who breed Tilapia using a Semi-Intensive culture method from nearby areas. This research found that greenhouse gas emissions released from the farm are based on four main processes of breeding. 1) Harvesting has released the most of 197.856 KgCO2eq/year 2) Preparatory processes which is 192.136 KgCO2eq/year 3) Growing process, which is 36.246 KgCO2eq/year and 4) Transportation to fish markets, which is 28.176 KgCO2eq/year. A significant reason is due to the use of a diesel-powered pump in addition to the fact when considering environmental impact, the discovery of pond aquaculture is a source of pollution because of water drained from ponds during aquaculture and fishing untreated, containing many wastes arising out of the fish excretion and leftover food sediment leading to contaminated water. This research, therefore, recommended the key guidelines for the development of Tilapia farming and the reduction of environmental impacts based on Smart Farmer and Circular Economy principles as divided into 5 points: 1) Management of residues from Tilapia farming to increase economic value. and reduce environmental impact 2) Reducing greenhouse gas emissions and particulate emissions from Tilapia Farming Process 3) Data management by checking and recording before being used for decision-making in solving environmental problems arising from tilapia farming and career development cost 4) Cost reduction from Tilapia farming coupled with reducing environmental impact and 5) Exchange and enhance knowledge on the environmental impact caused by Tilapia farmers among other farmers in nearby areas.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565