ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน : กรณีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี0 บี2 บี3) และไบโอดีเซล บี5
by จิรัฐ เจนพึ่งพร
Title: | ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน : กรณีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บี0 บี2 บี3) และไบโอดีเซล บี5 |
Other title(s): | Dead-weight loss of alternative energy pricing policy : a case of high speed diesel (B0, B2, B3) and Biodiesel B5 |
Author(s): | จิรัฐ เจนพึ่งพร |
Advisor: | อนันต์ วัฒนกุลจรัส, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Degree department: | คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2011 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2011.10 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ในปี พ.ศ. 2549 เมือตลาดไบโอดีเซล บี5 เกิดขึ้น ภาครัฐได้ประกาศโครงสร้างราคาขาย ปลีกไบโอดีเซล บี5 ที่ได้รับการอุดหนุนราคาไขว้ (Cross subsidy) ในลักษณะของการถ่ายโอน ภาษีและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้บริโภคดีเซลหมุนเร็วสู่ผู้บริโภคไบโอดีเซล บี5 เพื่อมุ่งหวังให้ ผู้บริโภคดีเซลหมุนเร็วหันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างไบโอดีเซล บี5 ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ นโยบายการอุดหนุนราคาไขว้ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (Deadweight loss, DWL) อันเนิ่องจากการเปลี่ยนแปลงของส่วนเกินผู้ผลิต (Producer surplus) และส่วนเกิน ผู้บริโภค (Consumer surplus) ในตลาดดีเซลหมุนเร็วและตลาดไบโอดีเซล บี5 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี การวัดความสูญเสียทางเศรษฐกิจออกมาอย่างแท้จริง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากนโยบายดังกล่าว กรอบการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการประมาณการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานในตลาดดีเซลหมุนเร็วและไบโอดีเซล บี5 เพื่อคํานวณหามูลค่าความสูญเสียทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง โดยเปรียบเทียบกรณีภาครัฐจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมันดีเซลกับ สภาวะดุลยภาพในตลาดดีเซลหมุนเร็วและตลาดไบโอดีเซล บี5 กรณีที่ตลาดซื้อขายกันอย่างเสรี (ไม่มีการจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมันดีเซล) และขั้นตอนที่ 2 จะนําแบบจําลองที่ได้จาก ขั้นตอนแรกไปจําลองสถานการณ์ เพื่อหานโยบายการกําหนดราคาสินค้าทั้งสองชนิดให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด ผลการวิจัยที่ใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2550 ถึงเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2554 พบว่านโยบายกําหนดราคาขายปลีกดีเซลหมุนเร็ว และไบโอดีเซล บี5 ทํา ให้อัตราส่วนเพิ่มของการทดแทนกัน (Marginal rate of substitution, MRS) ระหว่างสินค้าทั้งสองชนิดแตกต่างจากอัตราส่วนเพิ่มของการเปลี่ยนแปลงการผลิต (Marginal rate of transformation, MRT) ร้อยละ 7.07 และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในตลาดทั้งสองในช่วงเวลา 4 ปี รวมกันทั้งสิ้น 11,497 ล้านบาท ซึ่งความสูญเสียทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในตลาดดีเซล หมุนเร็ว และเคยมีการสูญเสียสูงสุดถึง 823 ล้านบาทในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2552 ในขณะที่นโยบายผสมไบโอดีเซล บี100 ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วร้อยละ 3 (บี3) พบว่ามีความสูญเสียทาง เศรษฐกิจที่ลดลงเมื่อเทียบกับนโยบายที่ใช้ดีเซลหมุนเร็ว บี2นอกจากนั้น การวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าผู้บริโภคนำมันดีเซลทั้งสองชนิดมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาดีเซลหมุนเร็วมากขึ้น เมื่อภาครัฐกําหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องมีส่วนผสมของไบโอดีเซล บี100 ขั้นตอนต่อมาเป็นการจําลองสถานการณ์เพื่อหานโยบายกําหนดราคาขายปลีกที่ก่อให้เกิด ความสูญเสียทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด พบว่าในกรณีแรก แม้ว่าภาครัฐจะสามารถขจัดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจทั้งหมดได้ แต่ภาครัฐจะต้องลดการจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมันดีเซลทั้งสอง ชนิดลงร้อยละ 78.49 ซึงในกรณีนี้ภาครัฐจะต้องสูญเสียรายได้ดังกล่าวปีละ 85,129 ล้านบาท ในขณะที่กรณีที่สอง กําหนดให้ภาครัฐยังคงมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีและกองทุนของน้ำมัน ดีเซลเท่าเดิม พบว่าราคาดีเซลหมุนเร็วจะลดลงร้อยละ 2.80 ในขณะที่ราคาไบโอดีเซล บี5 จะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.36 ส่งผลให้อัตราส่วนเพิ่มของการทดแทนกัน (MRS) แตกต่างจากอัตราส่วนเพิ่ม ของการเปลี่ยนแปลงการผลิต (MRT) เพียงร้อยละ 0.55 และทําให้มูลค่าความสูญเสียทาง เศรษฐกิจสามารถลดลงไปได้ร้อยละ 96.63 ของมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงใน ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามกรณีที่สองนี้จะทําให้ปริมาณการนําเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 ต้นทุน เศรษฐศาสตร์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.90 และค่าใช้จ่ายรวมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.02 เพราะฉะนั้นการใช้กองทุนน้ำมันเชิ้อเพลิงเป็นกลไกรักษาระดับราคาขายปลีกของพลังงาน ทดแทนจะต้องกํากับให้อัตราส่วนราคาขายปลีกต่อต้นทุนเศรษฐศาสตร์เท่ากับอัตราส่วนของ พลังงานที่สามารถทดแทนกันได้ โดยต้นทุนเศรษฐศาสตร์นี้จะต้องรวมผลกระทบภายนอก (Externality cost) ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งภาษีน้ำมันควรจะจัดเก็บรวมกับกองทุน อนุรักษ์พลังงานเพื่อนํารายได้ไปใช้อย่างมีเป้าหมาย โดยเฉพาะการบรรเทาและป้องกันผลกระทบ ภายนอกที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตพืชพลังงานอย่างเช่นปาล์มน้ำมัน ไม่ว่าจะ เป็นการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชพลังงานโดยตรง การจัดการน้ำภายในพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน และการจัดเก็บผลผลิตพืชพลังงานส่วนเกิน ทั้งนี้การเพิ่มอุปทานพืชพลังงานและการเพิ่มสัดส่วน การใช้พลังงานทดแทนนอกจากจะทําให้สังคมบริโภคพลังงานที่สะอาดแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2554 |
Subject(s): | นโยบายพลังงาน -- ไทย -- แง่เศรษฐกิจ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 11, 116 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/617 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|