Show simple item record

การสื่อสารและต่อรองอำนาจในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิพลเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์มานิในประเทศไทย

dc.contributorChanida Rodyooen
dc.contributorชนิดา รอดหยู่th
dc.contributor.advisorAsawin Nedpogaeoen
dc.contributor.advisorอัศวิน เนตรโพธิ์แก้วth
dc.contributor.otherNational Institute of Development Administration. The Graduate School of Communication Arts and Management Innovationen
dc.date.accessioned2023-01-16T10:20:19Z
dc.date.available2023-01-16T10:20:19Z
dc.date.issued7/1/2023
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6189
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Communication Arts and Innovation) (Ph.D.(Communication Arts and Innovation))en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม) (ปร.ด.(นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))th
dc.description.abstractThe objectives of this study were to study the civil sector’s communication and negotiation of power in defining the meaning of the Maniq ethnic group and to investigate how the receivers decode the meaning of the Maniq ethnic group in Thai society. A qualitative research design was employed to collect data through documentary research, observations, in-depth interviews, textual analysis, and focus group discussions. The research results in the dimension of discursive production and distribution showed that the meaning of the Maniq ethnic group in Thai society has been defined and communicated through various discourses according to eras and social contexts. Social movements for the Maniq people’s citizenship rights took place based on the negotiation of meanings against mainstream discourses that exclude and oppress ethnic people, with the aim of deconstructing old discourses and defining new meanings and identities for the Maniq ethnic group in accordance with human rights principles and international conventions on the rights of indigenous peoples. The civil sector’s negotiation of power for the Maniq ethnic group’s citizenship rights was concerned with discursive communication, including discursive access, discursive practice, and sociocultural contexts, influencing the achievement of definition-making power. Regarding the consumption of meanings of the two groups of receivers, it was found that the background and social context of the rights-deprived people were not conducive to the perception and interpretation of textual meanings. The Maniq people received information through two-step communication, with personal media (the group representative and local activists) serving as the main communication channel. They superficially perceived information from the dominant ideological and subcultural groups. Their decoding is considered a product of discursive communication that has been ideologically cultivated by local activists. They were given information in a one-way, top-down manner with no opportunity for feedback. In terms of the rights givers’ decoding, it was found that they paid more attention to their personal experience than to messages about the Maniq people. They believed that previous Maniq-related texts caused ethnic bias and hampered ethnic people’s access to rights, but that current Maniq-related texts are more accurate and help improve their rights situation. Their coding was associated with the construction of meanings and truths based on their personal experience with the Maniq people. They attempted to define the meaning of the Maniq ethnic group as well.en
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง การสื่อสารและต่อรองอำนาจในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิพลเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์มานิในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารและต่อรองอำนาจของภาคประชาชนต่อการกำหนดความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มานิในสังคมไทย และเพื่อศึกษาการถอดรหัสของผู้รับสารต่อความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มานิในสังคมไทย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ตัวบท และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาปฏิบัติการทางวาทกรรมในมิติการผลิตและเผยแพร่วาทกรรม พบว่า ความหมายของกลุ่มชาติพันธุ์มานิในสังคมไทยถูกกำหนดและสื่อสารผ่านวาทกรรมที่แตกต่างกันตามยุคสมัยและบริบททางสังคม การขับเคลื่อนประเด็นสิทธิพลเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์มานิเกิดขึ้นภายใต้การต่อสู้ต่อรองทางความหมายกับวาทกรรมกระแสหลักที่เบียดขับและกดทับกลุ่มชาติพันธุ์ มีเป้าหมายเพื่อการรื้อสร้างวาทกรรม และนิยามตัวตน อัตลักษณ์ใหม่แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ภายใต้หลักการสิทธิมนุษยชน และหลักการสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง การต่อรองอำนาจของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเข้าถึงสิทธิพลเมืองกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ต้องอาศัยการสื่อสารวาทกรรมที่ประกอบด้วยการเข้าถึง การผลิตและเผยแพร่ตัวบท ปฏิบัติการทางวาทกรรม และบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการช่วงชิงอำนาจนำในการกำหนดความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ขณะที่ผลการศึกษาปฏิบัติการทางวาทกรรมในมิติการบริโภควาทกรรม จากการถอดรหัสหรือบริโภคความหมายของผู้รับสารสองกลุ่ม คือผู้เสียสิทธิและผู้ให้สิทธิ พบว่า ภูมิหลังและบริบททางสังคมของกลุ่มผู้เสียสิทธิไม่เอื้อต่อการรับรู้และอ่านความหมายตัวบทเกี่ยวกับกลุ่มของตนเอง การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารภายในกลุ่มชาติพันธุ์มีลักษณะ 2 ขั้น โดยมีสื่อบุคคล คือนักกิจกรรม และแกนนำกลุ่มชาติพันธุ์เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร ผู้รับสารกลุ่มชาติพันธุ์รับรู้ตัวบททั้งจากอุดมการณ์หลักและวัฒนธรรมย่อยแบบผิวเผิน ไม่ลึกซึ้ง การตีความตัวบทของกลุ่มผู้เสียสิทธิเป็นผลผลิตทางวาทกรรมรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการปลูกฝังเชิงอุดมการณ์จากนักกิจกรรม การรับสารของกลุ่มผู้เสียสิทธิมาจากกระบวนการสื่อสารจากบนลงล่าง และเป็นการสื่อสารทางเดียว ขาดโอกาสในการสื่อสารป้อนกลับ ขณะที่การบริโภคความหมายของกลุ่มผู้ให้สิทธิ พบว่า ผู้รับสารกลุ่มผู้ให้สิทธิไม่ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เผยแพร่ในสังคม เท่ากับประสบการณ์ตรงของตนเอง กลุ่มผู้ให้สิทธิมีทัศนคติว่าตัวบทเกี่ยวกับมานิในอดีตทำให้เกิดอคติทางชาติพันธุ์ และส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิของมานิ แต่ตัวบทที่เผยแพร่ในสังคมในปัจจุบันมีความถูกต้องและทำให้สถานการณ์ด้านสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ดีขึ้น การถอดรหัสสารของกลุ่มผู้ให้สิทธิเป็นผลมาจากการประกอบสร้างความหมาย ความจริงจากการสื่อสารและประสบการณ์ของตนเองกับกลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้ให้สิทธิได้ประกอบสร้าง และพยายามช่วงชิงการนิยามความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มานิด้วยth
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-16T10:20:19Z (GMT). No. of bitstreams: 2 6211831008.pdf: 3465153 bytes, checksum: 892887af2b550cf9a94d236d9dd5ca14 (MD5) license.txt: 202 bytes, checksum: b73cf3ce748735a79944aa8bb026b893 (MD5) Previous issue date: 7en
dc.language.isoen
dc.publisherNational Institute of Development Administration
dc.rightsNational Institute of Development Administration
dc.subjectกลุ่มชาติพันธ์มานิth
dc.subjectการสื่อสารth
dc.subjectการต่อรองอำนาจth
dc.subjectThe Maniq Ethnic Groupen
dc.subjectCommunicationen
dc.subjectNegotiation of Poweren
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleTHE COMMUNICATION AND NEGOTIATION OF POWER IN DRIVING THE CITIZENSHIP RIGHTS OF THE MANIQ ETHNIC GROUP IN THAILANDen
dc.titleการสื่อสารและต่อรองอำนาจในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิพลเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์มานิในประเทศไทยth
dc.typeDissertationen
dc.typeดุษฎีนิพนธ์th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record