Show simple item record

มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างมารดาระยะหลังคลอด

dc.contributorChutima Suttiprapaen
dc.contributorชุติมา สุทธิประภาth
dc.contributor.advisorKrisdakorn Wongwuthikunen
dc.contributor.advisorกฤษฎากร ว่องวุฒิกุลth
dc.contributor.otherNational Institute of Development Administration. The Graduate School of Lawen
dc.date.accessioned2023-01-16T10:20:45Z
dc.date.available2023-01-16T10:20:45Z
dc.date.issued7/1/2023
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6192
dc.descriptionMaster of Laws (LL.M.)en
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)th
dc.description.abstractThis thesis is about the study of legal measures related to protection of postpartum employee. It is known that, from pregnancy to childbirth is the huge transitional period, employees who having mother role have to face the changes in their physical conditions, social pressure, the close people and many responsibilities at work which lead to psychological and emotional impact of maternal employees. Most problems is postpartum depression so the objective of the study is to develop legal measures providing rights and protection of maternal employees which study theories and concepts about postpartum depression, maternity rights and maternal employees rights by analyzing and studying the Labor Protection Act of Thailand in three significant points, maternity leave, compensation during maternity leave and breastfeeding period during the day comparing with International law and the relevant law in Slovakia, Germany and United States of California which these countries not only be having state parties but also have country not be a member of the international convention. The study found that the Labor Protection Act of Thailand still has a loophole. Firstly, the maternity leave is too strict. Secondly, the compensation during maternity leave is provided by limit of details of payout rates or period of payout. And lastly, the breastfeeding period during the day which has never seen before as a legal provision. According to problem findings in comparison with Maternity Protection Convention 2000, the relevant law in Slovakia, Germany and United States of California the results of these study are more comprehensive and clearer on these issues. Therefore, this thesis proposes guidelines for improvement and amendment to law, the Labor Protection Act of Thailand, to provide the real rights and protection for maternal employees.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างที่เป็นมารดาระยะหลังคลอด เป็นที่ทราบกันอย่างดีในกลุ่มลูกจ้างซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่บทบาทมารดาว่าช่วงเวลาตั้งแต่ริเริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดบุตรนับเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่คนกลุ่มนี้จะต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพร่างกาย แรงกดดันทางสังคมคนใกล้ชิด และภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในที่ทำงาน ล้วนส่งผลกระทบด้านจิตใจและอารมณ์ต่อผู้ที่กำลังปรับตัวเพื่อดำรงบทบาทมารดาเป็นอย่างยิ่ง ปัญหาที่พบเจอบ่อยครั้งในกลุ่มมารดาที่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวไปในเวลาเดียวกัน คือ ปัญหาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ จึงเป็นไปเพื่อพัฒนามาตรการทางกฎหมายที่ให้สิทธิและความคุ้มครองลูกจ้างที่เป็นมารดา โดยศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าระยะหลังคลอด สิทธิของมารดา และสิทธิของลูกจ้างที่เป็นมารดา โดยวิเคราะห์และศึกษาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานของไทยจำนวนสามประเด็น ได้แก่ สิทธิวันลาคลอดบุตร ค่าตอบแทนช่วงวันลาคลอด และสิทธิในการพักให้นมระหว่างวันของมารดา เปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาธารณรัฐสโลวัก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีทั้งประเทศที่เข้าเป็นภาคีสมาชิกและไม่ได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานของไทย ยังคงมีข้อบกพร่องในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญ ดังนี้ ประการแรกคือ เรื่องสิทธิวันลาคลอดบุตร ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดมีความเคร่งครัดมากเกินไป ประการที่สองคือ เรื่องค่าตอบแทนช่วงวันลาคลอด กฎหมายจำกัดรายละเอียดเรื่องอัตราการจ่าย หรือระยะเวลาการจ่าย และประการที่สามคือ เรื่องสิทธิในการพักให้นมระหว่างวันของมารดา ซึ่งยังไม่ปรากฏเป็นบทบัญญัติกฎหมาย เมื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหญิงเกี่ยวกับสิทธิความเป็นมารดาและการคลอดบุตร ค.ศ. 2000 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทั้งสามประเด็นของสาธารณรัฐสโลวัก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย จะเห็นว่าได้ให้สิทธิและความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่เป็นมารดาได้อย่างครอบคลุมและชัดเจนในประเด็นเหล่านี้มากกว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานของไทยที่มีอยู่ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานของไทย เพื่อมุ่งหมายที่จะพัฒนาข้อกฎหมายในการให้สิทธิและความคุ้มครองลูกจ้างที่เป็นมารดาได้อย่างแท้จริงth
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2023-01-16T10:20:45Z (GMT). No. of bitstreams: 2 6211911001.pdf: 1877947 bytes, checksum: f39f73d119016368ff950599f37a0044 (MD5) license.txt: 202 bytes, checksum: b73cf3ce748735a79944aa8bb026b893 (MD5) Previous issue date: 7en
dc.language.isoth
dc.publisherNational Institute of Development Administration
dc.rightsNational Institute of Development Administration
dc.subjectภาวะซึมเศร้าหลังคลอดth
dc.subjectลูกจ้างที่เป็นมารดาth
dc.subjectสิทธิและความคุ้มครองth
dc.subjectpostpartum depressionen
dc.subjectmaternal employeesen
dc.subjectrights and protectionen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleLegal measures for protection of postpartum employeeen
dc.titleมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างมารดาระยะหลังคลอดth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record