การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมการช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกรังแก ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Publisher
Issued Date
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ชญานิศ อนุสกุลโรจน์ การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมการช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกรังแก ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6209.
Title
การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมการช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกรังแก ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Alternative Title(s)
Research for Development and Validation on Helping Behavior of Bystanders Scale in Junior High School Students
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกรังแกในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยได้ทำการสร้างแบบวัดจำนวน 2 แบบวัด ได้แก่ 1) แบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านอารมณ์เมื่อเพื่อนถูกรังแก และ 2) แบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านข้อมูลเมื่อเพื่อนถูกรังแก โดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และมีการประเมินความตรง (Validation)
งานวิจัยศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 3 จากโรงเรียนจำนวน 4 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 703 คน เป็นนักเรียนเพศชายจำนวน 305 คน และนักเรียนเพศหญิงจำนวน 398 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งขั้นกำหนดโควตา (Multistage Quota Random Sampling) เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ จำนวน 100 คน 2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) มี ข้อมูลทั้งสิ้น 300 คน 3) กลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) จำนวน 200 คน 4) กลุ่มตัวอย่างที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์ความตรง และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จำนวน 103 คน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก แบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านอารมณ์เมื่อเพื่อนถูกรังแก และแบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านข้อมูลเมื่อเพื่อนถูกรังแก ถูกสร้างขึ้นจำนวนแบบวัดละ 40 ข้อ และถูกคัดเลือกโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้เหลือ 31 ข้อ และ 32 ข้อ ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อในแต่ละแบบวัดด้วยการหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (t-ratio) และ ค่า Item-total Correlation ปรากฏว่า แบบวัดทั้งสองมีข้อที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 16 ข้อ และ 20 ข้อ ตามลำดับ ประการที่สอง สำหรับแบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านอารมณ์เมื่อเพื่อนถูกรังแกข้อที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 16 ข้อนี้ถูกนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และพบองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การยอมรับพฤติกรรมการรังแก จำนวน 4 ข้อ 2) การเมินเฉยกับสถานการณ์ที่นำไปสู่การรังแก จำนวน 4 ข้อ และ 3) การเห็นอกเห็นใจเพื่อนที่ถูกรังแก จำนวน 2 ข้อ รวมทั้งสิ้น 10 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 64.646% เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่ามีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด Cronbach's α เท่ากับ 0.789 McDonald's ω เท่ากับ 0.809 Greatest Lower Bound เท่ากับ 0.868 ประการที่สาม สำหรับแบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านข้อมูลเมื่อเพื่อนถูกรังแกทั้ง 20 ข้อนี้ถูกนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ทำให้พบองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การไม่กล้าบอกข้อมูลเพื่อป้องกันเหตุการณ์การรังแก 2) การส่งต่อข้อมูลการรังแกกัน และ 3) ไม่แนะนำการป้องกันการโดนรังแก รวมทั้งสิ้น 10 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 67.768% เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่ามีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด Cronbach's α เท่ากับ 0.848 McDonald's ω เท่ากับ 0.853 Greatest Lower Bound เท่ากับ 0.913 ประการที่สี่ ผลการวิเคราะห์ความตรงพบว่า แบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านอารมณ์เมื่อเพื่อนถูกรังแกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านข้อมูลเมื่อเพื่อนถูกรังแก (r=0.862) รองลงมา ได้แก่แบบวัดการพฤติกรรมมีมารยาทในการสื่อสาร แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และแบบวัดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ในเหตุการณ์ (r=0.624, 0.588 และ 0.530 ตามลำดับ) ซึ่งสนับสนุนสมมติฐาน โดยแบบวัดการประเมินแก่นแห่งตนมีความสัมพันธ์น้อยที่สุด (r=0.085) ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน ในส่วนแบบวัดพฤติกรรมการสนับสนุนด้านข้อมูลเมื่อเพื่อนถูกรังแกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดพฤติกรรมการมีมารยาทในการสื่อสาร แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และแบบวัดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ในเหตุการณ์ (r=0.664,0.650 และ0.567 ตามลำดับ) ซึ่งสนับสนุนสมมติฐาน โดยแบบวัดการประเมินแก่นแห่งตนมีความสัมพันธ์น้อยที่สุด (r=0.102) ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน
ผลการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแรก ๆ ในประเทศไทย ทางด้านการสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมความการช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกรังแก เป็นแบบวัดที่ผ่านมาตรฐานทางการสร้างเครื่องมือวัด มีค่าความเชื่อมั่นค่อนข้างสูง และมีความเที่ยงตรง แบบวัดที่สร้างขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสำรวจหรือประเมินพฤติกรรมสนับสนุนการช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมต้น ต่อยอดงานวิชาการทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ที่จะใช้ในการทำวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกรังแกของนักเรียนในอนาคต
This research aimed at constructing and validating helping behavior of bystanders scale (HBBC) in junior high school students. Two important scales were constructed namely, 1) emotional support behavior of bystander scale (ESBBS), and 2) informational support behavior of bystander scale (ISBBS). The statistical approaches were exploratory factor analysis, and confirmatory factor analysis and validation. The samples in this study were grade 7th and 8th students in four junior high schools. Using multistage quota random sampling, the total samples were 703 junior high school students in Bangkok, consisting of 305 male students, and 398 female students. There are four important research findings as follows: Firstly, 40 items for each ESBBS and ISBBS were generated. They were screened by a group of experts. At this stage, only 31 items and 32 items were seclected respectively. Items were tried out. Two statistical criteria were used, i.e., t-ratio and item-total correlation. The results revealed that only 16 items for ESBBS, and 20 items for ISBBS passed these criteria. Secondly, the selected items above of each scale were tested by exploratory factor analysis with the new group of similar samples. For ESBBS, three dimensions were emerged from EFA with the total of 10 items. These dimensions were 1) acceptance of bullying (total of 4 items), 2) ignoring situations that lead to bullying (total of 4 items), and 3) empathy for victim (total of 2 items). These three dimensions could explain the variance of ESBBS with 64.646%. After performing second order confirmatory factor analysis, it was shown the model fit with alpha reliability of 0.789, omega reliability of 0.809, and GLB reliability of 0.868. Thirdly, for ISBBS, three-factor model also emerged from the exploratory factor analysis with the total of 10 items. These factors were 1) afraid of sharing information to prevent bullying (total of 4 items), 2) forwarding bullying information (total of 4 items), and 3) Not providing suggestions to prevent bullying (total of 2 items). These three dimensions could explain the variance of ISBBS with 64.768%. After performing second order confirmatory factor analysis, it was shown the model fit with with alpha reliability of 0.848, omega reliability of 0.853, and GLB reliability of 0.913. Finally, the ESBBS had a positive relation with the ISBBS (r=0.862). ESBBS was also positively related to ethical communication behavior, future orientation and self-control, and bullying participant behaviors (r=0.624, 0.588 and 0.530, respectively), which supported the hypothesis. However, the non-supportive result was found with core self-evaluation (0.085). Furthermore, the ISBBS was also positively related to ethical communication behavior, future orientation and self-control, and bullying participant behaviors (r=0.664, 0.650, and 0.567, respectively), which supported the hypothesis. The non-supportive result was also found with core self-evaluation (0.102). The newly constructed measure was validated and positively related to the standardized psychological and behavioral measures. Thus, this new scale can confidently be used in future studies and assessment in order to increase helping behaviors of bystanders relating to bullying.
This research aimed at constructing and validating helping behavior of bystanders scale (HBBC) in junior high school students. Two important scales were constructed namely, 1) emotional support behavior of bystander scale (ESBBS), and 2) informational support behavior of bystander scale (ISBBS). The statistical approaches were exploratory factor analysis, and confirmatory factor analysis and validation. The samples in this study were grade 7th and 8th students in four junior high schools. Using multistage quota random sampling, the total samples were 703 junior high school students in Bangkok, consisting of 305 male students, and 398 female students. There are four important research findings as follows: Firstly, 40 items for each ESBBS and ISBBS were generated. They were screened by a group of experts. At this stage, only 31 items and 32 items were seclected respectively. Items were tried out. Two statistical criteria were used, i.e., t-ratio and item-total correlation. The results revealed that only 16 items for ESBBS, and 20 items for ISBBS passed these criteria. Secondly, the selected items above of each scale were tested by exploratory factor analysis with the new group of similar samples. For ESBBS, three dimensions were emerged from EFA with the total of 10 items. These dimensions were 1) acceptance of bullying (total of 4 items), 2) ignoring situations that lead to bullying (total of 4 items), and 3) empathy for victim (total of 2 items). These three dimensions could explain the variance of ESBBS with 64.646%. After performing second order confirmatory factor analysis, it was shown the model fit with alpha reliability of 0.789, omega reliability of 0.809, and GLB reliability of 0.868. Thirdly, for ISBBS, three-factor model also emerged from the exploratory factor analysis with the total of 10 items. These factors were 1) afraid of sharing information to prevent bullying (total of 4 items), 2) forwarding bullying information (total of 4 items), and 3) Not providing suggestions to prevent bullying (total of 2 items). These three dimensions could explain the variance of ISBBS with 64.768%. After performing second order confirmatory factor analysis, it was shown the model fit with with alpha reliability of 0.848, omega reliability of 0.853, and GLB reliability of 0.913. Finally, the ESBBS had a positive relation with the ISBBS (r=0.862). ESBBS was also positively related to ethical communication behavior, future orientation and self-control, and bullying participant behaviors (r=0.624, 0.588 and 0.530, respectively), which supported the hypothesis. However, the non-supportive result was found with core self-evaluation (0.085). Furthermore, the ISBBS was also positively related to ethical communication behavior, future orientation and self-control, and bullying participant behaviors (r=0.664, 0.650, and 0.567, respectively), which supported the hypothesis. The non-supportive result was also found with core self-evaluation (0.102). The newly constructed measure was validated and positively related to the standardized psychological and behavioral measures. Thus, this new scale can confidently be used in future studies and assessment in order to increase helping behaviors of bystanders relating to bullying.