• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

นวัตกรรมรูปแบบรายการโทรทัศน์และการมีส่วนร่วมของคนหูหนวก

by พัชรินทร์ ผากา

Title:

นวัตกรรมรูปแบบรายการโทรทัศน์และการมีส่วนร่วมของคนหูหนวก

Other title(s):

The innovation of television program and participation of deaf people

Author(s):

พัชรินทร์ ผากา

Advisor:

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2016.169

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมรูปแบบรายการโทรทัศน์และการมีส่วนร่วมของคนหูหนวก” ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษารายการโทรทัศน์ภาษามือส าหรับคนหูหนวก “รายการใจเท่ากัน” ออกอากาศ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตรายการ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยท่ีมีผลต่อการผลิตรายการ กระบวนการผลิตรายการ รวมทั้งการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของคนหูหนวกในรายการใจเท่ากัน และใช้การสอบถามความคิดเห็นโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ซึ่งประกอบด้วยคนหูหนวก และคนทั่วไป ซึ่งเคยรับชมรายการใจเท่ากัน เพื่อศึกษาถึงการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มี ต่อรายการ โดยการสัมภาษณ์คนหูหนวกผู้วิจัยใช้การสื่อสารผ่านล่ามภาษามือ ผลการวิจัยพบว่า การผลิตรายการใจเท่ากันประกอบด้วยปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) ผู้ส่งสาร 2) เนื้อหา/สาร 3) ช่องทางการสื่อสาร และ 4) ผู้รับสาร สำหรับปัจจัยภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจ สงัคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยีและกฎหมาย โดยปัจจัยสำคัญที่สุดในการผลักดันให้เกิดรายการ โทรทัศน์สำหรับคนหูหนวก ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร และ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากคนหู หนวกในประเทศไทยมีจำนวนน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน จึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตสื่อ แต่ รายการใจเท่ากันได้รับการสนับสนุนจากองค์กรผู้ผลิตสื่อเพื่อสนองต่อประโยชน์สาธารณะ ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร จึงสามารถผลิตรายการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีได้ ปัจจัยด้านเนื้อหา สารและปัจจัยด้านผู้รับสารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการลด ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้ภาษามือ แบบเต็มจอ คำบรรยายเป็นเสียง และคำบรรยายเป็นอักษร จะช่วยให้คนหูหนวกซึ่งมีข้อจำกัด ทางด้านร่างกายและการสื่อสาร รวมทั้งคนหูดีทั่วไปสามารถรับชมรายการร่วมกันได้อย่างเข้าใจ ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสาร ซึ่งการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทั้งทำให้รายการเป็นที่รู้จัก และมีจำนวนผู้ชมเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากคนในสังคมไม่ทราบ ข้อจำกัดทางด้านร่างกายและการสื่อสารของคนหูหนวก ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องสิทธิ ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ จึงทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับคนหูหนวกมีจำนวนน้อย ปัจจัยด้านกฎหมาย ช่วยผลักดันให้เกิดรายการโทรทัศน์สำหรับคนหูหนวก รวมทั้งช่วยให้คนหูหนวกมีสิทธิ และเสรีภาพในการเปิดรับและเข้าถึงสื่อได้มากขึ้น สำหรับกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ใจเท่ากันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคนหูดี และคนหูหนวก ซึ่งสามารถแบ่งระดับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การมีส่วนร่วมในฐานะผู้ชม /ผู้รับสาร และการมีส่วนร่วมในฐานะผู้ส่งสาร/ผู้ผลิต/ผู้ร่วมผลิต/ผู้แสดง โดยพิธีกรซึ่งเป็นทีมงานคนหูหนวกได้มีส่วนร่วมในระดับนี้มากที่สุด ต้ังแต่ข้ันตอนเตรียมการผลิต การผลิต รายการ และหลังผลิตรายการ แต่ยังไม่พบการมีส่วนร่วมของคนหูหนวกในระดับบริหาร โดย พบว่าถึงแม้ทีมงานคนหูหนวกจะไม่มีความรู้ในด้านสื่อโทรทัศน์มาก่อน แต่เมื่อได้เข้ามาเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงก็สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ รวมทั้งมีส่วนช่วยเหลือใน การทำงานได้เป็นอย่างดีอย่างไรกต็ามพบว่าคนหูหนวกในประเทศไทยที่มีีความรู้มีศักยภาพใน การท างาน และสนใจศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ยังมีจำนวนน้อย การศึกษาความพึงพอใจของผู้ชมคนหูหนวกและผู้ชมทั่วไปที่มีต่อรายการ ผู้ชมคนหู หนวกและคนหูดีรู้สึกพึงพอใจเนื้อหาและรูปแบบรายการที่ให้ความรู้ความบันเทิง มีวิธีการ นำเสนอแปลกใหม่เปิดโอกาสให้คนหูหนวกได้แสดงศักยภาพ ปลุกจิตสำนึกให้คนในสังคมสนใจ เรื่องราวของคนหูหนวก ชื่นชอบการนำเสนอเนื้อหาด้วยภาษามือร่วมกับคำบรรยาย เพราะช่วยให้ คนหูหนวกรับชมรายการได้อย่างเข้าใจและมีอรรถรสมากขึ้น ส่วนคนหูดีก็ได้เรียนรู้ภาษามือ นอกจากนี้ยังชื่นชอบพิธีกรรายการคนหูหนวก เพราะดูมีความตั้งใจ สามารถใช้ภาษามือได้อย่าง ถูกต้องและเข้าใจง่าย โดยผู้ชมคนหูหนวกจะให้ความสนใจเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการประกอบ อาชีพเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ชมทั้งสองกลุ่มรู้สึกไม่พึงพอใจวันและเวลาออกอากาศ ตัวหนังสือของคำบรรยายมีขนาดเล็กเกินไป ไม่รู้จักแขกรับเชิญที่มาร่วมรายการ อยากให้เป็น ศิลปินดารามากกว่า โดยผู้ชมหูหนวกรู้สึกไม่พึงพอใจการใช้ภาษามือที่มีประโยคสนทนายาว เกินไป และขึ้นตัวหนังสือเร็ว อ่านไม่ทัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างผู้ชมทั่วไปรู้สึกไม่พึงพอใจเสียงพากย์ ของพิธีกรคนหูหนวก ต้องการเรียนรู้ภาษามือจากคำบรรยายมากกว่า การศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์พบว่า ผู้ชมคนหูหนวกได้รับสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นหัวข้อในการสนทนาสร้างความสัมพันธ์กับคนใน ครอบครัว ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และสร้างแรงบันดาลใจ ส่วนผู้ชมทั่วไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ได้รับสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์นา มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ปลุกจิตสำนึกให้เห็นถึง สิทธิ ความเท่าเทียมกัน รวมทั้งความรู้ ความสามารถ และศักยภาพในด้านต่างๆ ของคนหูหนวก ที่ไม่แตกต่างจากคนทั่วไป

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

รายการโทรทัศน์
คนหูหนวก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

139 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6224
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b199270.pdf ( 3,145.07 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [179]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×